วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โมดูลจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี
นายธงชัย ภักดีโสภา
นายนฤพล ศรีบูรธรรม
นายเศรษฐวัฒน์ เพื่อมกระโทก

โปรแกรมวิชาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเรื่องโมดูลจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี ซึ่งได้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มาช่วยในการตรวจจับและคัดแยกสีของวัตถุ ทดแทนการคัดแยกโดยสายตาของคนที่มีข้อจำกัดในการแบ่งแยกสีที่มีความหลากหลายเฉดสี สำหรับโมดูลจัดทำขึ้นนี้จะสามารถตรวจจับและทำการคัดแยกชนิดของวัตถุโดยใช้ค่าความแตกต่างของสีโดยใช้อุปกรณ์ตัวตรวจจับสี ซึ่งสามารถทำการดัดแยกชนิดสีได้จำนวน 3 สี คือ สีเขียว สีน้ำเงิน และสีแดง นอกเหนือจากสีที่ไม่ได้กำหนดจะไม่สามารถตรวจสอบได้แต่จะคัดแยกออกต่างหาก สำหรับการคัดแยกจะถูกควบคุมโดยอัตโนมัติโดยพีแอลซี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับงานควบคุมเครื่องจักร ผลที่ได้จากการทดสอบการคัดแยกสีของโมดูลสามารถคัดแยกวัตถุสีที่กำหนดได้ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นสีเขียวจะถูกต้อง 93.33 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสาเหตุเกิดจากแสงรบกวนจากภายนอก

1. บทนำ
*** เนื่องจากในปัจจุบันการผลิตสินค้าต่างๆ นิยมจะตกแต่งสินค้าให้มีความสวยงาม และเพิ่มมูลค่าของสินค้า โดยการตกแต่งสินค้าด้วยสีสันต่างๆ ลงบนตัวสินค้า เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ลูกค้าเกิดความสนใจมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ตัวสินค้ามีสีสันที่หลากหลายหรือมีหลายเฉดสีมากขึ้น การที่จะผลิตหรือคัดแยกสินค้าที่มีหลากหลายเฉดสีด้วยคนทั่วไปนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เนื่องจากสายตาของคนทั่วไป มีข้อจำกัดในการแบ่งแยกและไม่มีมาตรฐานที่ถูกต้องแน่นอน อย่างเช่นถ้าหากให้คนจำนวน 10 คน บอกชนิดของเฉดสีต่างๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน คำตอบที่ได้นั้นอาจมีหลายคำตอบไม่ตรงกัน ตามความคิดของแต่ละคน อีกทั้งบางคนที่จ้องมองสีเป็นเวลานานๆ และบ่อยๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสายตาได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังที่กล่าว จึงได้จัดทำชุดโมดูลสำหรับคัดแยกชนิดของสีขึ้นมา โดยการใช้อุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจจับสีได้โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้สามารถคัดแยกสีได้อย่างละเอียดและถูกต้องตามคุณสมบัติของค่าสี นอกจากนี้ยังได้ทำการออกแบบให้อุปกรณ์ตรวจจับสีทำงานร่วมกันได้กับอุปกรณ์ควบคุมที่มีความสามารถอย่างพีแอลซี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในงานควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ที่สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ โดยชุดโมดูลจำลองการคัดแยกสีของวัตถุนี้จะออกแบบสำหรับใช้เป็นตัวต้นแบบและเป็นสื่อการสอน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้ทำการศึกษาโครงงานนี้ ให้ได้มีความเข้าใจวิธีและหลักการทำงานของโครงงาน พร้อมทั้งสามารถที่จะนำโครงงานนี้ไปประยุกต์ออกแบบใช้งานจริงในการผลิตสินค้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความเป็นมาของโครงงาน
*** เนื่องจากในปัจจุบันการผลิตสินค้าต่างๆ นิยมจะตกแต่งสินค้าให้มีความสวยงาม และเพิ่มมูลค่าของสินค้า โดยการตกแต่งสินค้าด้วยสีสันต่างๆ ลงบนตัวสินค้า เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ลูกค้าเกิดความสนใจมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ตัวสินค้ามีสีสันที่หลากหลายหรือมีหลายเฉดสีมากขึ้น การที่จะผลิตหรือคัดแยกสินค้าที่มีหลากหลายเฉดสีด้วยคนทั่วไปนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เนื่องจากสายตาของคนทั่วไป มีข้อจำกัดในการแบ่งแยกและไม่มีมาตรฐานที่ถูกต้องแน่นอน อย่างเช่นถ้าหากให้คนจำนวน 10 คน บอกชนิดของเฉดสีต่างๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน คำตอบที่ได้นั้นอาจมีหลายคำตอบไม่ตรงกัน ตามความคิดของแต่ละคน อีกทั้งบางคนที่จ้องมองสีเป็นเวลานานๆ และบ่อยๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสายตาได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังที่กล่าว จึงได้จัดทำชุดโมดูลสำหรับคัดแยกชนิดของสีขึ้นมา โดยการใช้อุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจจับสีได้โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้สามารถคัดแยกสีได้อย่างละเอียดและถูกต้องตามคุณสมบัติของค่าสี นอกจากนี้ยังได้ทำการออกแบบให้อุปกรณ์ตรวจจับสีทำงานร่วมกันได้กับอุปกรณ์ควบคุมที่มีความสามารถอย่างพีแอลซี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในงานควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ที่สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ โดยชุดโมดูลจำลองการคัดแยกสีของวัตถุนี้จะออกแบบสำหรับใช้เป็นตัวต้นแบบและเป็นสื่อการสอน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้ทำการศึกษาโครงงานนี้ ให้ได้มีความเข้าใจวิธีและหลักการทำงานของโครงงาน พร้อมทั้งสามารถที่จะนำโครงงานนี้ไปประยุกต์ออกแบบใช้งานจริงในการผลิตสินค้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ขอบเขตของโครงงาน
3.1*สามารถเริ่มและหยุดการทำงานของสายลำเลียงได้โดยปุ่มควบคุม
3.2*สามารถคัดแยกวัตถุตามลักษณะของสีได้ 3 สี คือ สีเขียว สีน้ำเงิน และสีแดง
3.3*สายพานลำเลียงขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
3.4*ตรวจจับสีของวัตถุโดยอุปกรณ์ตรวจจับสีชนิดแสงสะท้อนกลับ

4. การวางแผนและออกแบบ
เมื่อได้ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ แล้ว ได้ทำการวางแผนการดำเนินการออกแบบเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
4.1*การออกแบบแผนผังการทำงานของโมดูล

รูปที่*1*แผนผังการทำงานของโมดูลจำลองการ
แยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี

- เซนเซอร์*เป็นส่วนที่ใช้ตรวจสอบวัตถุสี ที่จะทำการตรวจสอบ
- พีแอลซี**เป็นอุปกรณ์หลักในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
- ชุดควบคุมโมดูลฯ**เป็นส่วนที่ให้ผู้ใช้งานควบคุมการเริ่มและหยุดการทำงานได้
- ชุดนับจำนวน**เป็นส่วนที่ใช้นับจำนวนวัตถุสีที่ผ่านการคัดแยกแล้ว
- ชุดมอเตอร์**เป็นส่วนที่ใช้งานควบคุมการเคลื่อนที่ของวัตถุสีที่ต้องการตรวจเช็ค
- ชุดโซเลนอยด์**เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมทิศทางการไหลของวัตถุสีที่ต้องการตรวจเช็ค
- ชุดกลไกคัดแยก**เป็นช่องทางสำหรับลำเลียงวัตถุสีออกตามที่ต้องการ
- แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง**เป็นส่วนที่เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรง
- แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ**เป็นแหล่งพลังงานที่จ่ายให้พีแอลซี และวงจรแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง

4.2* แบบโครงสร้างของโมดูล
ตัวโครงสร้างได้ทำการเลือกใช้วัสดุอะคริลิค สำหรับทำเป็นแท่นหรือตัวโมดูล ซึ่งเหมาะสมและสะดวกต่อการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ โดยได้ทำการออกแบบโครงสร้าง ดังรูป






รูปที่*2*ภาพลายเส้นด้านบนของโมดูล



รูปที่*3*ภาพถ่ายด้านบนของโมดูล



4.3 การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโมดูล


รูปที่*4*แผนผังการทำงานของโมดูลจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี

5. การออกแบบวงจร
จากการออกแบบการทำงานของโมดูลฯ เพื่อให้สะดวกต่อการออกแบบวงจร ได้ออกแบบวงจรออกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 6 วงจรย่อย ดังนี้
5.1*วงจรภาคควบคุมหลัก
ในวงจรควบคุมส่วนนี้จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลักๆ คือ พีแอลซี ทำหน้าที่รับสภาวะอินพุทจากอุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ แล้วทำการประมวลผลจากชุดโปรแกรมที่บันทึกไว้ภายในหน่วยความจำ จากนั้นจะทำการควบคุมชุดมอเตอร์ ชุดคัดแยกวัตถุสีให้เป็นไปตามเงื่อนไข โดยภาคควบคุมหลักเป็นพีแอลซีที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
ยี่ห้อผู้ผลิต MITSUBISHI
รุ่น FX0S-30MR
แรงดันอินพุต/เอ้าท์พุท 85-264 Vac / 24 Vdc
ช่องต่อควบคุมด้านอินพุต 18 อินพุต
ช่องต่อควบคุมด้านเอ้าท์พุท 16 เอ้าท์พุท


รูปที่*5*วงจรภาคควบคุมหลัก

5.2*วงจรภาคเซนเซอร์
ภาคเซนเซอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์ชนิดใช้แสงทั้งหมด ทำหน้าที่ตรวจสอบวัตถุสีที่ป้อนเข้ามา จะติดตั้งอยู่ที่ช่องใส่วัตถุสี จำนวน 3 ตัว (Sensor 1, 2, 3) และตามชุดสายพานลำเลียงหลัก จำนวน 3 ตัว (Sensor 4, 5, 6) โดยค่าที่ได้จากการตรวจเช็ค จะส่งให้พีแอลซีในภาคควบคุมหลักเพื่อทำการประมวลผลต่อไป ซึ่งหน้าที่เซนเซอร์แต่ละตัวจะกำหนดไว้ ดังนี้

รูปที่*6*วงจรภาคเซนเซอร์

5.3*วงจรภาคขับเคลื่อนมอเตอร์
ภาคขับเคลื่อนมอเตอร์ เป็นส่วนควบคุมการไหลของวัตถุสีที่ทำการป้อนเข้ามา ตลอดจนถึงจบขั้นตอนการคัดแยก จะถูกควบคุมการทำงานโดยพีแอลซีจะประกอบด้วยมอเตอร์ M1 ทำหน้าที่ขับเคลื่อนชุดสายพานลำเลียงตัวหลัก M2, M3 และ M4 ทำหน้าที่ขับเคลื่อนชุดสายพานลำเลียงของช่องคัดแยกสีเขียว น้ำเงิน และแดงตามลำดับ

รูปที่*7*วงจรภาคขับเคลื่อนมอเตอร์

5.4*วงจรภาคขับเคลื่อนโซเลนอยด์
สำหรับโซเลนอยด์ So1 และ So2 จะทำการติดตั้งอยู่ในช่องใส่วัตถุสี ทำหน้าที่กั้นและปล่อยวัตถุสีที่ป้อนเข้ามาให้หล่นลงสู่ชุดสายพานลำเลียงหลัก ให้เป็นไปตามจังหวะ ส่วน So3, So4 และ So5 จะติดตั้งตามชุดสายพานลำเลียงหลัก ทำหน้าที่ผลักวัตถุสีให้เปลี่ยนทิศทางไปยังชุดสายพานย่อยของแต่ละสี
รูปที่*8*วงจรภาคขับเคลื่อนโซเลนอยด์

5.5*วงจรภาคแสดงผล
สำหรับภาคแสดงผลประกอบด้วย LED2 จะแสดงสถานะเมื่อวงจรอยู่ในสภาวะทำงาน ร่วมกับตัวนับจำนวน (Counter) วัตถุสีที่ได้ทำการคัดแยกแล้ว โดยจะใช้ตัวนับจำนวนชนิดสำเร็จรูป

รูปที่*9*วงจรภาคแสดงผล

5.6**วงจรภาคจ่ายไฟ
ในวงจรภาคจ่ายไฟฟ้านี้ประกอบด้วยหม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับจาก 220 โวลต์เป็น 24 โวลต์ จากนั้นวงจรไดโอดบริดจ์ จะทำการเรียงกระแสไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง สุดท้ายจะใช้ตัวเก็บประจุและไอซีเบอร์ LM7824 เป็นตัวปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ มีค่าแรงดัน 24โวลต์ วงจรภาคจ่ายไฟชุดนี้จะใช้สำหรับจ่ายให้กับอุปกรณ์จำพวกมอเตอร์และโซเลนอยด์ เนื่องจากแรงดันที่ได้จากพีแอลซีมีกระแสต่ำ ไม่เพียงพอที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์จำพวกมอเตอร์และโซเลนอยด์ ซึ่งจะกินกระแสมาก


รูปที่*10*วงจรภาคจ่ายไฟกระแสตรง 24โวลต์

เมื่อนำวงจรของแต่ละภาคมารวมกันแล้วจะได้วงจรที่สมบูรณ์ ดังรูป


รูปที่*11*วงจรสมบูรณ์ของโครงงาน

6. การออกแบบและเขียนโปรแกรมแลดเดอร์
การเขียนโปรแกรมแลดเดอร์ที่สะดวกและง่าย ก็คือการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออก แบบและเขียนโปรแกรมลงสู่พีแอลซี ซึ่งตัวโปรแกรมเองส่วนมากได้จากบริษัทผู้ผลิตพีแอลซีเอง ตามโครงงานนี้จะใช้โปรแกรม GX Developer เวอร์ชั่น 8 ซึ่งเป็นชุดซอร์ฟแวร์ของบริษัทผู้ผลิตพีแอลซี ยี่ห้อ Mitsubishi สำหรับการใช้งานโปรแกรม GX Developer Version 8
รูปที่*12*การต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับพีแอลซี


รูปที่*13*สายสัญญาณเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์
กับพีแอลซี

รูปที่*14*ซอร์ฟแวร์พัฒนาโปรแกรมภาษา
แลดเดอร์ (GX Developer)

7. การใช้งานโมดูลจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี
7.1**เสียบปลั๊กไฟฟ้า เอซี 220 โวลต์ จากนั้นเปิดสวิทช์เพาเวอร์ที่ด้านหลังเครื่อง

รูปที่*15*การเปิดสวิทช์ไฟของโมดูล
7.2**เครื่องจะมีไฟติดด้านหน้าที่ตำแหน่ง Power

รูปที่*16*แสดงไฟสถานะแสดงการพร้อมทำงาน

7.3**เริ่มการทำงานของโมดูล โดยการกดปุ่มสีน้ำเงิน (Start) 1 ครั้ง จะทำให้สายพานหลักทำงาน


รูปที่*17*การกดปุ่มเริ่มการใช้งานโมดูล

7.4* ใส่วัตถุสีที่ต้องการทดสอบลงในช่องใส่วัตถุสี

รูปที่*18*การใส่วัตถุสีลงในช่องใส่วัตถุสี

7.5**วัตถุสีจะหล่นลงมาค้างอยู่ที่จุดตรวจสอบชนิดของสี ประมาณ 1 วินาที จากนั้นวัตถุสี จะหล่นลงมาที่สายพานลำเลียงตัวหลัก และจะไหลออกมาด้านนอกเพื่อคัดแยก


รูปที่*19*การไหลของวัตถุสีบนสายพานลำเลียง
ตัวหลัก
****
7.6**เมื่อวัตถุหล่นลงมาอยู่ที่สายพานลำเลียงตัวหลักแล้ว สามารถที่จะทำการใส่วัตถุสีตัวต่อไปได้
7.7**เมื่อวัตถุสีไหลมาที่ตำแหน่งคัดแยกสีที่ได้บันทึกไว้ในขั้นตอนการตรวจสอบ โซเลนอยด์จะทำการผลักก้านดีดออกมากั้นวัตถุสีให้เปลี่ยนทิศทางการไหลไปยังรางสายพานย่อยของแต่ละสี เพื่อการคัดแยก


รูปที่*20*การคัดแยกวัตถุโดยการผลักก้านดีด
ออกมากั้นวัตถุสีให้เปลี่ยนทิศทาง


รูปที่*21*การลำเลียงวัตถุสีที่คัดแยกแล้ว

7.8**สายพานย่อยของสีที่คัดแยก จะลำเลียงวัตถุสีที่ได้คัดแยกแล้วออกมาจนสุดสายพาน จะทำให้สายพานย่อยของสีนั้นหยุดหมุน และในจังหวะนี้ถ้าหากมีการใส่วัตถุสีตัวต่อไปแล้ว ก็จะมีการตรวจสอบสี และมีกระบวนการทำงานตามลักษณะเดิมไปเรื่อยๆ
7.9**เมื่อโมดูลทำงานจบกระบวนการตามที่ต้องการแล้ว หากต้องการหยุดการทำงานชั่วคราวให้กดปุ่มสีแดงด้านหน้าเครื่อง จะทำให้สายพานหยุดทำงาน

รูปที่*22*การกดปุ่มหยุดทำงานชั่วคราว

8.**การทดสอบโมดูลจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี
การทดสอบโมดูลจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี ได้ทดลอบโดยการนำวัตถุสีที่ได้จัดเตรียมไว้จำนวน 4 สี ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ จากนั้นทำการใส่วัตถุสีลงไปในช่องใส่วัตถุสีของโมดูล แล้วทำการจดบันทึกผลที่ได้จากการคัดแยกลงในตารางบันทึกผล โดยได้แบ่งการทดลอบออกเป็น 3 วิธี ๆ ละ 30 ครั้ง คือ การใส่วัตถุสีโดยการใส่สีเดียวต่อเนื่อง การวัตถุสีโดยการใส่สลับสี และการใส่วัตถุสีโดยการใส่สีที่ไม่ได้กำหนด จากนั้นได้บันทึกผลการทดลองลงในตารางบันทึกผลทั้ง 3 วิธี
รูปที่*23*แสดงวัตถุสีที่ใช้ในการทดสอบ
ตารางที่*1**ผลการทดสอบโดยการใส่สีเดียว
ต่อเนื่อง (สีละ 30 ครั้ง)
จากการทดสอบเครื่องจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี ด้วยวิธีการใส่สีเดียวต่อเนื่อง ทั้งหมด 4 สี ได้แก่ สีเขียว, น้ำเงิน, แดง และดำ ปรากฏว่าเครื่องสามารถคัดแยกได้ 100 % ยกเว้น สีเขียว ที่มีค่าความถูกต้องได้ 93.33 % และมีค่าความผิดพลาด 6.66 %

ตารางที่*2**ผลการทดสอบโดยการใส่
สลับสี (รวม 30 ครั้ง)
จากการทดสอบเครื่องจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี ด้วยวิธีการใส่สลับสี ปรากฏว่าเครื่องสามารถคัดแยกได้ถูกต้อง 96.67 % ส่วนที่สีที่ผิดพลาด 3.33 % คือ สีเขียว



ตารางที่*3**แสดงผลการทดสอบการคัด
แยกวัตถุสีโดยการใส่สีที่ไม่ได้
กำหนด (รวม 30 ครั้ง)

จากการทดสอบเครื่องจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี ด้วยวิธีการใส่วัตถุสีที่ไม่ได้กำหนด ปรากฏว่าเครื่องจะทำการคัดแยก (วัตถุจะไหลออกทางช่องสายพานหลักออกไป) ซึ่งหมายความว่าการตรวจสอบถูกต้อง 100% โดยไม่มีการผิดพลาด

9. สรุปผลการดำเนินงาน
โครงงานโมดูลจำลองการแยกสีชิ้นงานควบคุมโดยพีแอลซี เป็นการนำเอาอุปกรณ์ทางด้านอิเล็คทรอนิคส์ มาประยุกต์ใช้แยกวัตถุตามชนิดของสี เพื่อนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม จากการทดลอง ได้ผลการทดสอบ การคัดแยกวัตถุสี โดยได้แบ่งการทดสอบออกเป็น 3 วิธี ๆ ละ 30 ครั้ง คือ การใส่วัตถุสีโดยการใส่สีเดียวต่อเนื่อง การวัตถุสีโดยการใส่สลับสี และการใส่วัตถุสีโดยการใส่สีที่ไม่ได้กำหนด จะมีติดขัดบ้างในส่วนของแมคคานิค สำหรับเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุสีสามารถคัดแยกสีได้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ คุณภาพของวัสดุและอุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของโครงงานนี้เป็นอย่างมาก

10. ปัญหาและอุปสรรคในการทดลอง
10.1*ชุดของสายพานลำเลียงสั้นไป ทำให้ยากต่อการติดตั้งอุปกรณ์
10.2*ชุดมอเตอร์และโซเลนอยด์ มีกำลังน้อย ทำให้ต้องจ่ายแรงดันเพิ่มสูงขึ้น
10.3*ชุดมอเตอร์และโซเลนอยด์มีลักษณะร้อน หากเปิดทำงานเป็นเวลานาน
10.4*ในการติดตั้งตัวเซนเซอร์สี ในช่องใส่วัตถุสี หากติดตั้งไม่ดีจะทำให้การทำงานผิดพลาดได้ง่าย

11. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
11.1* เพิ่มระยะสายพานให้ยาวขึ้น เพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนการตรวจเช็ควัตถุสีได้มากขึ้น
11.2* ควรปรับปรุงขนาดของมอเตอร์ให้เหมาะกับชุดสายพานลำเลียง
11.3* ควรเพิ่มเติมวงจรเซนเซอร์โวมอเตอร์และโซเลนอยด์ ให้มีประสิทธิภาพ จะทำให้อุปกรณ์ชุดสายพานลำเลียงทำงานได้ดีขึ้น
11.4* ควรออกแบบโครงสร้างของโมดูล ให้เหมาะสมกับวัตถุที่นำมาตรวจเช็ค พร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
11.5* สามารถนำโครงงานนี้ไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบอื่นๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ เช่น ใช้ในการคัดแยกสินค้าโดยใช้ความแตกต่างของสี การควบคุมคุณภาพสีของสินค้า เป็นต้น
11.6* นำไปใช้ในการเรียนการสอน เพื่อศึกษาการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในโครงงานนี้

กิตติกรรมประกาศ
ในการจัดทำปริญญานิพนธ์ในครั้งนี้ สามารถสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ด้วยความช่วยเหลือจาก อาจารย์สมนึก ธัญญาวินิชกุล, อาจารย์อภิชาติ หาจัตุรัส, อาจารย์สัมพันธ์ แหล่งป่าหมุ้น ตลอดจนอาจารย์ทุกๆ ท่านที่ได้อบรมสั่งสอน ให้สติ ปัญญา ความรู้ คำปรึกษา ในการทำโครงงานในครั้งนี้ และที่สำคัญคือพระคุณบิดา-มารดา ผู้คอยเป็นกำลังใจและทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียบเสมอมา
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ รุ่นพี่ และเพื่อนๆ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้ให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้


#####

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น