วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้า

ใบความรู้ 1
วิชางานช่างพื้นฐาน
เรื่อง เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้า

แผนการสอนที่ 1

จำนวน 2 คาบ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกหลักการทำงานและประเภทของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าได้
2. บอกอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้าได้

สาระการเรียนรู้
1.หลักการทำงานและประเภทของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า
2. อุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้า

การเชื่อมด้วยไฟฟ้าเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ได้ออกแบบให้เชื่อมได้ทั้งโลหะบางและโลหะหนาได้ทุกชนิด กระบวนการของการเชื่อมไฟฟ้าไม่เพียงแต่สะดวกในการเก็บรักษาเท่านั้น ยังสามารถผลิตสินค้าและเครื่องจักรได้รวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่กับทักษะของผู้เชื่อมด้วย

ส่วนประกอบของไฟฟ้าในเครื่องเชื่อม เราต้องทราบถึงการทำงานของไฟฟ้าในเครื่องเชื่อมอย่างถูกต้อง ท่านต้องทราบถึงพื้นฐานทางไฟฟ้าบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการไหลของกระแสไฟฟ้าในรเครื่องเชื่อมเป็นสิ่งสำคัญ
วงจรไฟฟ้า คือ ทางเดินของกระแสและแรงเคลื่อนไฟฟ้า ซึ่งเริ่มต้นจากขั้วลบของเยนเนอร์เรเตอร์ เมื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ กระแสจะไหลไปตามเส้นลวดหรือสายเคเบิ้ลไปยังโลหะงานแล้วไหลกลับไปยังขั้วบวก
แอมแปร์ คือ จำนวนหรืออัตราการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวัดอัตราการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร เรียกว่า แอมมิเตอร์

ความสามารถในการทำงานของเครื่องเชื่อม หมายถึง อัตราส่วนของเวลาที่ทำการอาร์คกับเวลาทั้งหมดสำหรับเครื่องเชื่อม เราถือระยะเวลา 10 นาทีเป็นเวลาทั้งหมด ดังนั้นเครื่องเชื่อมมีความสามารถทำการเชื่อมได้ดี 60% หมายถึง เครื่องเชื่อมนั้นสามารถทำการเชื่อมต่อเนื่องกันได้ดีเป็นเวลา 6 นาที แล้วพัก 4 นาที

แรงเคลื่อน คือ อัตราการไหลของอีเล็คตรอน ทำให้เราทราบค่าของแรงเคลื่อนไฟฟ้า แรงนี้ก็เหมือนกับความดันของน้ำประปาในท่อนั่นเอง ในระบบความดันของน้ำเกิดจากปั๊มน้ำเป็นตัวกระทำ แต่ในระบบวงจรไฟฟ้าเกิดจากเยนเนอเรเตอร์ หรือทราฟอร์เมอร์ ผลิตแรงเคลื่อนดันกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด หรือสายเคเบิ้ล แรงเคลื่อนนี้เราวัดเป็นโวลท์ และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดแรงเคลื่อน เราเรียกว่าโวลท์มิเตอร์

แรงเคลื่อนลดลง ก่อนอื่นเราลองหันมาดูการไหลของน้ำประปาที่ไหลเบาลงเนื่องจากระยะทางห่างจากปั๊มน้ำมาก ในวงจรไฟฟ้าก็เช่นเดี่ยวกับแรงเคลื่อนลดลงเนื่องจากระยะจากเครื่องเชื่อมไกลเกินไป ประเด็นที่สำคัญที่ควรจำในการใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ก็คือ การใช้สายเคเบิ้ลยาวเกินไปจะทำให้แรงเคลื่อนลดลง เมื่อแรงเคลื่อนลงลดจะทำให้การเชื่อมไม่ได้ผลเท่าที่ควรสายถ้าเคเบิ้ลใหญ่เกินไปจะทำให้แรงเคลื่อนต่ำ
ไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อมมีอยู่ 2 ชนิด คือ กระแสตรงและกระแสสลับ กระแสตรง คือ กระแสที่ไหลไปในทิศทางเดียว กระแสสลับ คือ กระแสไหลสลับไปมาในวงจร มีจำนวนที่แน่นอนในหนึ่งวินาที อัตราการไหลของกระแสไฟฟ้าสลับไปมาในวงจร เรียกว่า ความถี่ ซึ่งความถี่ในที่นี้ได้แก่ 25,40,50 และ 60 ไซเกิล ต่อวินาที ในอเมริกาใช้กระแสไฟฟ้าชนิด 60 ไซเกิล/วินาที เครื่องเชื่อมที่ให้กระแสสลับ เรียกว่า เครื่องเชื่อม เอซี เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ให้กระแสตรงเรียกว่า เครื่องเชื่อม ดีซี

วงจรเปิดและวงจรปิด วงจรเปิดก็คือแรงเคลื่อนขณะที่เปิดเครื่อง ซึ่งไม่ได้ทำงานหรือทำการเชื่อม แรงเคลื่อนนี้จะอยู่ระหว่าง 50-100 โวลท์

แหล่งกำเนิดพลังงาน แหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าในการเชื่อมมีอยู่ 3 ชนิด
1. มอเตอร์เยนเนอเรเตอร์
2. ทรานฟอร์เมอร์
3. เร็คติไฟเออร์
ดีซี มอเตอร์ เยนเนอเรเตอร์ คือ แหล่งกำเนิดที่ใช้มอเตอร์เป็นตัวขับให้ไฟกระแสตรงเครื่องเชื่อมกระแสตรง ซึ่งผลิตกระแสหรือแสงสว่างโดยอัตโนมัติ เครื่องเชื่อมแบบนี้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ เครื่องยนต์เบนซินหรือเครื่องดีเซล สำหรับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าแบบเบนซินและดีเซล เหมาะสำหรับพื้นที่ซึ่งไม่มีไฟฟ้าใช้

เยนเนอเรเตอร์ ออกแบบให้ทำหน้าที่ 3 อย่าง คือ
1. ปรับค่าของกระแสได้ตามความต้องการ
2. ให้แรงเคลื่อนและกระแสไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกับแหล่งกำเนิด
3. ให้แรงคลื่อนที่สม่ำเสมอขณะทำการเชื่อม

ในหัวข้อที่ 3 เป็นข้อพิเศษและสำคัญ เนื่องจากเป็นการควบคุมการไหลของธูปเชื่อมขณะทำการเชื่อม หากระยะการอาร์คชิดเกินไป เป็นเหตุให้คุณค่าของแรงเคลื่อนเปลี่ยนไปขณะที่เชื่อม ทำให้การเชื่อมไม่มีประสิทธิภาพ เพราะจะทำให้กระแสสูงเกินไป ทำให้เกิดลูกไฟเล็กๆกระเด็น และทำให้กระแสในการอาร์คหันเหออกนอกทิศทาง ดังนั้นเยนเนอร์เรเตอร์จึงถูกออกแบบเพื่อให้แรงเคลื่อนเปลี่ยนแปลงได้อย่างสม่ำเสมอขณะทำการเชื่อม

ขนาดของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นมาให้มีความสามารถรับความจุของกระแสได้แตกต่างกัน เช่น 150,200,300,400 และ 600 แอมแปร์ ซึ่งเป็นกระแสสูงสุดที่นำออกมาใช้งานภายนอก เครื่องเชื่อมที่มีความจุของกระแส 150 แอมแปร์ สามารถปรับกระแสสูงสุดได้ 150 แอมแปร์ การตั้งกระแสไฟฟ้าในการเชื่อมขึ้นอยู่กับความหนาของโลหะที่จะทำการเชื่อม

การวางสวิทช์สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้าแตกต่างกันแล้วแต่บริษัทผู้ผลิต แต่ที่ดีที่สุด ได้แก่สวิทซ์ควบคุมกระแสไฟฟ้าชนิดหน้าปัด หรืออาจจะเป็นแบบวงล้อหรือระดับเลื่อนไปมาก็ได้ ซึ่งสามารถเลือกหาค่าของกระแสไฟฟ้าถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด การปรับระยะอาร์คขึ้นอยู่กับขนาดของลวดเชื่อม และความหนาของแผ่นงาน

ขั้วไฟฟ้าของเครื่องเชื่อม ขั้วไฟฟ้าเป็นเครื่องแสดงทิศทางของการไหลของกระแสในวงจร ถ้าหากกระแสไหลไปทิศทางใดทางหนึ่งเพียงทิศทางเดียว เราเรียกว่า เครื่องเชื่อมกระแสตรง ขั้วก็เป็นสิ่งสำคัญอันหนึ่ง เพราะว่างานเชื่อมโลหะบางชนิดอาจทำให้กระแสต้องเปลี่ยนไป การต่อสายเชื่อมเมื่อสายเชื่อมต่อกับขั้วลบ ของเครื่องเชื่อมสายที่จับอยู่กับงานต่อขั้วบวก ของเครื่องเชื่อม เราเรียกว่า การต่อแบบขั้วตรง ถ้าสายหัวเชื่อมต่อกับขั้วบวกของเครื่องเชื่อมและสายที่จับชิ้นงานต่อกับขั้วลบของเครื่องเชื่อม เราเรียกว่า กลับขั้ว

เครื่องเชื่อมกระแสตรง ปัจจุบันบางชนิดสามารถปรับขั้วได้เลย โดยเปลี่ยนสวิทช์เปลี่ยนขั้ว อยู่ในตัวของมัน ยังมีเครื่องเชื่อมอีกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถทำให้กระแสไฟคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าเครื่องเชื่อมกระแสสลับ ซึ่งสายเชื่อมและสายงานจะต่อกับขั้วไหนก็ได้ไม่จำเป็น

เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับ ใช้ทรานฟอร์เมอร์แทนเครื่องกำเนิด ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าในการเชื่อม กระแสสลับประกอบด้วยขดลวดประถมภูมิและขดลวดทุติยภูมิ ซึ่งสามารถปรับด้วยตัวปรับ เอากระแสออกมาใช้งาน ขดลวดประถมภูมิรับกระแสจากแหล่งกำเนิดป้อนเข้าสนามแม่เหล็ก ได้แก่แกนทรานฟอร์เมอร์ ขดลวดทุติยภูมิไม่ได้ต่อจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแต่เกิดจากการเปลี่ยนเส้นแรงแม่เหล็กของสนามแม่เหล็กไหลผ่านตัวนำทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสูงกว่าต้นกำเนิด และนำกระแสไฟฟ้านี้ไปใช้ในการเชื่อมโลหะ กระแสที่นำออกมาใช้ถูกควบคุมโดยตัวควบคุม ซึ่งสามารถปรับให้กระแสสูงต่ำได้ตามความต้องการ
เครื่องมือสำหรับงานโลหะ
เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานโลหะมีลักษณะเหมือนกับเครื่องมือที่ใช้ในงานช่างทั่วๆไป แต่ต้องมีความคงทน แข็งแรง และทนต่อความร้อนได้ดีกว่างานช่างอื่นๆ เนื่องจากงานเชื่อมโลหะเป็นงานเกี่ยวกับโลหะที่มีความแข็งมากกว่าวัสดุอื่นๆ อีกทั้งงานเชื่อมโลหะยังต้องใช้ความร้อนสูงช่วยในการเชื่อมด้วย เครื่องมืองานเชื่อมโลหะที่สำคัญ ได้แก่
1 ทั่ง ทำมาจากเหล็กหล่อชั้นดี มีหลายขนาดประกอบด้วย เขาทั่ง หน้าทั่ง ตัวทั่ง และขาทั่ง ขาทั่งมักจะยืดแผ่ออกมาจากตัวทั่ง นิยมฝังไว้ที่ผิวของไม้เนื้อแข็งเพื่อไม่ให้ขยับเวลาเคาะ ตี หรือทุบงาน หน้าทั่งใช้สำหรับงานที่ต้องการเคาะหรือทุบให้งานเรียบ และเขาทั่งใช้สำหรับเคาะขึ้นรูปงานให้โค้งงอ

2.ค้อน เป็นเครื่องมือที่จำเป็นมากสำหรับช่างโลหะ ค้อนสำหรับงานโลหะจะทำด้วยเหล็กกล้าชั้นดี ผ่านการชุบแข็งที่ผิวหน้า ไม่สึกหรอง่าย ด้ามค้อนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ค้อนมีขนาด รูปร่าง และน้ำหนักแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดและชนิดของงาน ค้อนบางชนิดน้ำหนักมากอาจต้องใช้สองมือจับตี เช่น ค้อนตีเหล็กขึ้นรูป ค้อนที่ใช้ในงานเชื่อมโลหะมีน้ำหนักมากจึงควรใส่ลิ่มให้แน่น และก่อนใช้ควรแช่น้ำเพื่อให้เนื้อไม้เบียดแน่นกับหัวค้อนทำให้ฝืดหลุดยาก การใช้ค้อนที่ด้ามหลวมหัวค้อนอาจหลุดกระเด็นเกิดอันตรายต่อเพื่อนร่วมงานได้

3.เลื่อยตัดเหล็ก ( hacksaw ) ประกอบด้วย โครงเลื่อย ด้ามจับ และที่ล๊อกใบเลื่อย ใบเลื่อยตัดเหล็กทำจากทังสเตนผสมกับโมลิบดีนัม ใช้เลื่อยตัดงานแบน กลม ท่อกลม และท่อเหลี่ยม การเลือกใบเลื่อยต้องใช้ขนาดฟันเลื่อยให้ถูกต้องกับงาน และไม่ควรบิดใบเลื่อยในขณะเลื่อยงานเพราะจะทำให้เลื่อยหักได้
-ใบเลื่อย 14 ฟัน/นิ้ว ใช้ตัดงานโลหะอ่อน เช่น อะลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง
-ใบเลื่อย 18 ฟัน/นิ้ว เป็นขนาดที่ใช้กันมากที่สุดใช้เลื่อยงานทั่วไป เช่น เหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณต่างๆ
-ใบเลื่อย 24 ฟัน/นิ้ว เหมาะที่จะใช้เลื่อยตัดท่อกลวงต่างๆ
-ใบเลื่อย 32 ฟัน/นิ้ว ใช้ตัดงานโลหะแผ่น ที่มีความหนาน้อยกว่า1/16 นิ้ว
4. ตะไบ ( file ) ทำจากเหล็กกล้าผ่านการอบชุบแข็ง ตะไบมีรูปร่างและขนาดมากมายหลายชนิด เช่น ตะไบกลม ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบสี่เหลี่ยม ตะไบคมมีด ตะไบหางหนู และตะไบท้องปลิง เป็นต้น ตะไบจะมีฟันคมทแยงตลอดทั้งตัว คมตะไบจะมีทั้งคมตัดเดี่ยวและคมตัดคู่ใช้สำหรับถากหรือขูดผิวโลหะออกมาเป็นเศษผงเล็กๆ หรือใช้ลบขอบ มุม และคมของแผ่นโลหะ
5.ตลับเมตร ( tape rule) ทำจากเหล็กแถบสปริงชุบสี สามารถดึงและม้วนกลับเข้าตลับได้ด้วยสปริงภายในตลับที่ปลายจะมีขอไว้เกี่ยวกับงาน ขนาดความยาวของตลับเมตรมีตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป สามารถวัดได้ทั้งหน่วยนิ้วและหน่วยเซนติเมตร

6.ฟุตเหล็ก ( stainless rule ) ทำจากเหล็กสเตนเลส มีความยาว 1 ฟุต 2 ฟุต และ3 ฟุต สามารถวัดความยาวได้ทั้งหน่วยนิ้วและหน่วยเซนติเมตร
7.ฉากเหล็ก ( flaming square ) ใช้สำหรับวัดมุม 90 องศา และ 45 องศา ใช้มากกับงานประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ เช่น ตู้ โต๊ะ เป็นต้น

8. เหล็กขีด ( scriber ) ทำจากเหล็กกล้าชุบแข็งที่คมใช้สำหรับขีดเส้นบนผิวโลหะเพื่อทำเครื่องหมายหรือตีเส้น เหล็กขีดมักใช้ร่วมกับฟุตเหล็กหรือฉากเหล็ก ควรลับคมเหล็กขีดกับหินลับมีดและห้ามนำไปงัดสิ่งของเพราะคมที่ชุบแข็งไว้จะหัก

9.เหล็กนำศูนย์ ( center punch ) ทำจากเหล็กเครื่องมือ คมที่ปลายชุบแข็ง มีมุมรวมที่ปลายคม 90 องศา ใช้ตอกลงบนผิวชิ้นงานก่อนใช้สว่านเจาะงาน เพื่อป้องกันดอกสว่านไถลจากจุดที่ต้องการ
10.สกัด ( cold chisel ) ทำจากเหล็กเครื่องมือชุบคมแข็งที่ปลาย ทำหน้าที่ถาก เซาะผิวหน้างานโลหะ สกัดมีปลายหลายแบบต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เช่น
-สกัดปลายแบน ใช้สำหรับตัดถากพื้นผิวโลหะและตกแต่งชิ้นงานหรือรอยเชื่อม
-สกัดปลายมล ใช้สำหรับสกัดแผ่นโลหะ
-สกัดปลายปากจิ้งจก ใช้สำหรับเซาะร่อง
-สกัดปลายเซาะ ใช้สำหรับเซาะร่องบนผิวงานให้โค้ง
-สกัดปลายบาน ใช้สำหรับตัดแผ่นโลหะและขึ้นรูปโลหะ
-สกัดปลายตัด ใช้สำหรับเจาะโลหะ หรือช่วยทะลวงแผ่นโลหะให้เป็นรู


11.คีมล็อก ( vise Grip ) เป็นคีมที่มีสปริงตั้งระยะปากจับล็อกได้ จับงานได้ทั้งแบน กลม เหลี่ยม ใช้สำหรับประกอบงานเชื่อมและช่วยจับงานให้แนบสนิทโดยไม่ต้องใช้มือจับ

12. ปากกาตัวซี ( c-clamp) ทำจากเหล็กหล่อหรือเหล็กเหนียวตีขึ้นรูป โครงปากโค้งเป็นรูปตัว c ยึดจับงานโดยใช้เกลียวอัด ใช้จับงานให้ยึดติดกันก่อนการเชื่อม เหมาะสำหรับงานโครงสร้างและงานสนามทั่วไป
13.ปากกาจับงาน ( vise)ใช้จับยึดงานเพื่อเจาะ ตัด ดัด พับ ตะไบ หรือบิดงาน โดยมีปาก 2 ปาก เป็นก้ามคีบจับ ปากด้านหนึ่งจะตรึงอยู่กับที่ ส่วนอีกปากหนึ่งเคลื่อนที่ได้โดยใช้แท่งเกลียวหมุนดึงปากเข้าและออก ปากกาจะติดตั้งที่โต๊ะงานเรียกว่า โต๊ะปากกา ปากกาจับงานมี 2 แบบ คือ ปากกาปากขนานใช้งานทั่วไป และปากกาปากคีมมีก้ามปากและเกลียวแข็งแรงใช้กับงานตีอัดแรงๆ

14.กรรไกรคานโยก ( Lever Shear) บางครั้งก็เรียกว่ากรรไกรโยกตามลักษณะการใช้งาน มีใบตัดซึ่งเป็นเหล็กแข็ง 2 ใบ คือใบล่างและใบบน ใบตัดล่างจะยึดติดกับตัวโครงกรรไกรส่วนล่าง ส่วนใบตัดบนจะยึดติดกับโครงส่วนบนซึ่งติดกับแขนคันโยก เคลื่อนที่ขึ้นลง ใช้ตัดเหล็กเส้น แบน กลม เหลี่ยม และเหล็กฉาก
15.สว่านไฟฟ้า ใช้เจาะงานเหมือนสว่านแท่นแต่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้กับงานเจาะทั่วไป มีมอเตอร์ไฟฟ้าขับเฟืองภายในและทดรอบช้าผ่านมาถึงหัวจับดอกสว่านหมุนเจาะงาน ตัวโครงจะทำด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน


16.เครื่องสว่านแท่น ใช้สำหรับเจาะงานรูกลม เครื่องจะติดตั้งอยู่กับที่โดยนำชิ้นงานเข้ามาเจาะวางบนแท่นเจาะ ใช้มอเตอร์เป็นกำลังขับพูเลย์เถาด้วยสายพาน ซึ่งมีการทดรอบให้ช้าลงเพื่อที่จะได้มีกำลังและส่งต่อไปยังหัวจับดอกสว่านหมุนเจาะงาน ถ้าเจาะรูโตก็ต้องเปลี่ยนรอให้ช้าลงมากๆเพื่อจะได้มีกำลังเจาะ ดอกสว่านมีหลายขนาดมีทั้งหน่วยเป็นนิ้วและมิลลิเมตร


17.เครื่องหินเจียระไนตั้งพื้น มีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวฉุดขับแกนเพลาซ้ายและขวา ปลายเพลาทั้งสองติดล้อหินเจียระไนแบบหยาบและแบบละเอียด ใช้เจียผิวหน้าของงานให้เรียบและใช้ลับคมเครื่องมือ หน้าล้อหินจะมีแท่นพักสำหรับวางงานเจียและมีพลาสติกใสเป็นการ์ดบังสะเก็ดโลหะไม่ให้กระเด็นเข้าตาผู้ปฏิบัติงาน
18.เครื่องหินเจียไฟฟ้า มีขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายสะดวกใช้เจียลบรอยต่างๆของงานที่ใหญ่และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น งานก่อสร้างโครงเหล็ก ใบหินเจียเป็นแผ่นกลมๆ มีรูตรงกลางไว้ใส่กับเครื่อง ถอดเปลี่ยนใบได้ง่าย สะดวก และสามารถใส่ใบกระดาษทรายหมุนขัดงานต่างๆได้ด้วย เวลาใช้ต้องใส่แว่นตานิรภัยใส ทุกครั้งเพ่อป้องกันเศษจากการเจียงาน




ข้อควรจำ
1. อย่ามองการเชื่อมด้วยตาเปล่า
2. ต้องสวมแว่นเซฟตี้ทุกครั้งที่ทำการเคาะขี้ฟลักซ์
3. ตรวจสอบเลนส์หน้ากากเชื่อมเสมอ ถ้าชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที
4. ต้องใส่กระจกใสป้องกันลูกไฟเล็กๆกระเด็นไปเกาะเลนส์หน้ากากเชื่อมทุกครั้ง
5. ใช้หัวจับธูปเชื่อมที่มีฉนวนป้องกันการลัดวงจร ถ้าหัวจับธูปเชื่อมชำรุดอย่าวางหัวจับธูปเชื่อมไว้บนโต๊ะฝึกงาน หรือบนแผ่นงานเชื่อม
6. ต้องสวมถุงมือหนังและเสื้อหนังทุกครั้งที่ทำการเชื่อม
7. ให้ทำการเชื่อมนที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี
8. ถ้าจำเป็นต้องเชื่อมนอกห้องเชื่อม จะต้องมีฉากกำบังรอบๆและต้องไม่มีผู้อื่นอยู่ใกล้
9. อย่าให้สายเชื่อมถูกกับโลหะที่กำลังร้อน น้ำ น้ำมันหรือจารบี จงแขวนสายเชื่อมไว้ในที่สำหรับแขวน
10. ต้องแน่ใจว่าได้ต่อสายดิน ( Ground ) แน่นดีแล้ว
11. เก็บสายเชื่อมไว้ในที่ที่เก็บของมันเพื่อป้องกันอันตราย ถ้าเป็นไปได้ให้เก็บไว้ในที่ซึ่งไม่มีคนเดินผ่าน
12. ในการเชื่อมถังเปล่า กล่องโลหะที่มีฝาปิดมิดชิด หรือท่อ ต้องแน่ใจว่าสิ่งเหล่านี้สะอาดปราศจากเชื้อเพลิงดีแล้ว
13. อย่าทำการเชื่อมใกล้สิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง
14. ต้องปิดเครื่องเชื่อมทุกครั้งหลังจากเลิกปฏิบัติงาน









ใบความรู้ 1
วิชางานช่างพื้นฐาน
เรื่อง เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้า

แผนการสอนที่ 1

จำนวน 2 คาบ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกหลักการทำงานและประเภทของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าได้
2. บอกอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้าได้

สาระการเรียนรู้
1.หลักการทำงานและประเภทของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า
2. อุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้า

การเชื่อมด้วยไฟฟ้าเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ได้ออกแบบให้เชื่อมได้ทั้งโลหะบางและโลหะหนาได้ทุกชนิด กระบวนการของการเชื่อมไฟฟ้าไม่เพียงแต่สะดวกในการเก็บรักษาเท่านั้น ยังสามารถผลิตสินค้าและเครื่องจักรได้รวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่กับทักษะของผู้เชื่อมด้วย

ส่วนประกอบของไฟฟ้าในเครื่องเชื่อม เราต้องทราบถึงการทำงานของไฟฟ้าในเครื่องเชื่อมอย่างถูกต้อง ท่านต้องทราบถึงพื้นฐานทางไฟฟ้าบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการไหลของกระแสไฟฟ้าในรเครื่องเชื่อมเป็นสิ่งสำคัญ
วงจรไฟฟ้า คือ ทางเดินของกระแสและแรงเคลื่อนไฟฟ้า ซึ่งเริ่มต้นจากขั้วลบของเยนเนอร์เรเตอร์ เมื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ กระแสจะไหลไปตามเส้นลวดหรือสายเคเบิ้ลไปยังโลหะงานแล้วไหลกลับไปยังขั้วบวก
แอมแปร์ คือ จำนวนหรืออัตราการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวัดอัตราการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร เรียกว่า แอมมิเตอร์

ความสามารถในการทำงานของเครื่องเชื่อม หมายถึง อัตราส่วนของเวลาที่ทำการอาร์คกับเวลาทั้งหมดสำหรับเครื่องเชื่อม เราถือระยะเวลา 10 นาทีเป็นเวลาทั้งหมด ดังนั้นเครื่องเชื่อมมีความสามารถทำการเชื่อมได้ดี 60% หมายถึง เครื่องเชื่อมนั้นสามารถทำการเชื่อมต่อเนื่องกันได้ดีเป็นเวลา 6 นาที แล้วพัก 4 นาที

แรงเคลื่อน คือ อัตราการไหลของอีเล็คตรอน ทำให้เราทราบค่าของแรงเคลื่อนไฟฟ้า แรงนี้ก็เหมือนกับความดันของน้ำประปาในท่อนั่นเอง ในระบบความดันของน้ำเกิดจากปั๊มน้ำเป็นตัวกระทำ แต่ในระบบวงจรไฟฟ้าเกิดจากเยนเนอเรเตอร์ หรือทราฟอร์เมอร์ ผลิตแรงเคลื่อนดันกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด หรือสายเคเบิ้ล แรงเคลื่อนนี้เราวัดเป็นโวลท์ และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดแรงเคลื่อน เราเรียกว่าโวลท์มิเตอร์

แรงเคลื่อนลดลง ก่อนอื่นเราลองหันมาดูการไหลของน้ำประปาที่ไหลเบาลงเนื่องจากระยะทางห่างจากปั๊มน้ำมาก ในวงจรไฟฟ้าก็เช่นเดี่ยวกับแรงเคลื่อนลดลงเนื่องจากระยะจากเครื่องเชื่อมไกลเกินไป ประเด็นที่สำคัญที่ควรจำในการใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ก็คือ การใช้สายเคเบิ้ลยาวเกินไปจะทำให้แรงเคลื่อนลดลง เมื่อแรงเคลื่อนลงลดจะทำให้การเชื่อมไม่ได้ผลเท่าที่ควรสายถ้าเคเบิ้ลใหญ่เกินไปจะทำให้แรงเคลื่อนต่ำ
ไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อมมีอยู่ 2 ชนิด คือ กระแสตรงและกระแสสลับ กระแสตรง คือ กระแสที่ไหลไปในทิศทางเดียว กระแสสลับ คือ กระแสไหลสลับไปมาในวงจร มีจำนวนที่แน่นอนในหนึ่งวินาที อัตราการไหลของกระแสไฟฟ้าสลับไปมาในวงจร เรียกว่า ความถี่ ซึ่งความถี่ในที่นี้ได้แก่ 25,40,50 และ 60 ไซเกิล ต่อวินาที ในอเมริกาใช้กระแสไฟฟ้าชนิด 60 ไซเกิล/วินาที เครื่องเชื่อมที่ให้กระแสสลับ เรียกว่า เครื่องเชื่อม เอซี เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ให้กระแสตรงเรียกว่า เครื่องเชื่อม ดีซี

วงจรเปิดและวงจรปิด วงจรเปิดก็คือแรงเคลื่อนขณะที่เปิดเครื่อง ซึ่งไม่ได้ทำงานหรือทำการเชื่อม แรงเคลื่อนนี้จะอยู่ระหว่าง 50-100 โวลท์

แหล่งกำเนิดพลังงาน แหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าในการเชื่อมมีอยู่ 3 ชนิด
1. มอเตอร์เยนเนอเรเตอร์
2. ทรานฟอร์เมอร์
3. เร็คติไฟเออร์
ดีซี มอเตอร์ เยนเนอเรเตอร์ คือ แหล่งกำเนิดที่ใช้มอเตอร์เป็นตัวขับให้ไฟกระแสตรงเครื่องเชื่อมกระแสตรง ซึ่งผลิตกระแสหรือแสงสว่างโดยอัตโนมัติ เครื่องเชื่อมแบบนี้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ เครื่องยนต์เบนซินหรือเครื่องดีเซล สำหรับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าแบบเบนซินและดีเซล เหมาะสำหรับพื้นที่ซึ่งไม่มีไฟฟ้าใช้

เยนเนอเรเตอร์ ออกแบบให้ทำหน้าที่ 3 อย่าง คือ
1. ปรับค่าของกระแสได้ตามความต้องการ
2. ให้แรงเคลื่อนและกระแสไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกับแหล่งกำเนิด
3. ให้แรงคลื่อนที่สม่ำเสมอขณะทำการเชื่อม

ในหัวข้อที่ 3 เป็นข้อพิเศษและสำคัญ เนื่องจากเป็นการควบคุมการไหลของธูปเชื่อมขณะทำการเชื่อม หากระยะการอาร์คชิดเกินไป เป็นเหตุให้คุณค่าของแรงเคลื่อนเปลี่ยนไปขณะที่เชื่อม ทำให้การเชื่อมไม่มีประสิทธิภาพ เพราะจะทำให้กระแสสูงเกินไป ทำให้เกิดลูกไฟเล็กๆกระเด็น และทำให้กระแสในการอาร์คหันเหออกนอกทิศทาง ดังนั้นเยนเนอร์เรเตอร์จึงถูกออกแบบเพื่อให้แรงเคลื่อนเปลี่ยนแปลงได้อย่างสม่ำเสมอขณะทำการเชื่อม

ขนาดของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นมาให้มีความสามารถรับความจุของกระแสได้แตกต่างกัน เช่น 150,200,300,400 และ 600 แอมแปร์ ซึ่งเป็นกระแสสูงสุดที่นำออกมาใช้งานภายนอก เครื่องเชื่อมที่มีความจุของกระแส 150 แอมแปร์ สามารถปรับกระแสสูงสุดได้ 150 แอมแปร์ การตั้งกระแสไฟฟ้าในการเชื่อมขึ้นอยู่กับความหนาของโลหะที่จะทำการเชื่อม

การวางสวิทช์สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้าแตกต่างกันแล้วแต่บริษัทผู้ผลิต แต่ที่ดีที่สุด ได้แก่สวิทซ์ควบคุมกระแสไฟฟ้าชนิดหน้าปัด หรืออาจจะเป็นแบบวงล้อหรือระดับเลื่อนไปมาก็ได้ ซึ่งสามารถเลือกหาค่าของกระแสไฟฟ้าถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด การปรับระยะอาร์คขึ้นอยู่กับขนาดของลวดเชื่อม และความหนาของแผ่นงาน

ขั้วไฟฟ้าของเครื่องเชื่อม ขั้วไฟฟ้าเป็นเครื่องแสดงทิศทางของการไหลของกระแสในวงจร ถ้าหากกระแสไหลไปทิศทางใดทางหนึ่งเพียงทิศทางเดียว เราเรียกว่า เครื่องเชื่อมกระแสตรง ขั้วก็เป็นสิ่งสำคัญอันหนึ่ง เพราะว่างานเชื่อมโลหะบางชนิดอาจทำให้กระแสต้องเปลี่ยนไป การต่อสายเชื่อมเมื่อสายเชื่อมต่อกับขั้วลบ ของเครื่องเชื่อมสายที่จับอยู่กับงานต่อขั้วบวก ของเครื่องเชื่อม เราเรียกว่า การต่อแบบขั้วตรง ถ้าสายหัวเชื่อมต่อกับขั้วบวกของเครื่องเชื่อมและสายที่จับชิ้นงานต่อกับขั้วลบของเครื่องเชื่อม เราเรียกว่า กลับขั้ว

เครื่องเชื่อมกระแสตรง ปัจจุบันบางชนิดสามารถปรับขั้วได้เลย โดยเปลี่ยนสวิทช์เปลี่ยนขั้ว อยู่ในตัวของมัน ยังมีเครื่องเชื่อมอีกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถทำให้กระแสไฟคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าเครื่องเชื่อมกระแสสลับ ซึ่งสายเชื่อมและสายงานจะต่อกับขั้วไหนก็ได้ไม่จำเป็น

เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับ ใช้ทรานฟอร์เมอร์แทนเครื่องกำเนิด ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าในการเชื่อม กระแสสลับประกอบด้วยขดลวดประถมภูมิและขดลวดทุติยภูมิ ซึ่งสามารถปรับด้วยตัวปรับ เอากระแสออกมาใช้งาน ขดลวดประถมภูมิรับกระแสจากแหล่งกำเนิดป้อนเข้าสนามแม่เหล็ก ได้แก่แกนทรานฟอร์เมอร์ ขดลวดทุติยภูมิไม่ได้ต่อจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแต่เกิดจากการเปลี่ยนเส้นแรงแม่เหล็กของสนามแม่เหล็กไหลผ่านตัวนำทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสูงกว่าต้นกำเนิด และนำกระแสไฟฟ้านี้ไปใช้ในการเชื่อมโลหะ กระแสที่นำออกมาใช้ถูกควบคุมโดยตัวควบคุม ซึ่งสามารถปรับให้กระแสสูงต่ำได้ตามความต้องการ
เครื่องมือสำหรับงานโลหะ
เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานโลหะมีลักษณะเหมือนกับเครื่องมือที่ใช้ในงานช่างทั่วๆไป แต่ต้องมีความคงทน แข็งแรง และทนต่อความร้อนได้ดีกว่างานช่างอื่นๆ เนื่องจากงานเชื่อมโลหะเป็นงานเกี่ยวกับโลหะที่มีความแข็งมากกว่าวัสดุอื่นๆ อีกทั้งงานเชื่อมโลหะยังต้องใช้ความร้อนสูงช่วยในการเชื่อมด้วย เครื่องมืองานเชื่อมโลหะที่สำคัญ ได้แก่
1 ทั่ง ทำมาจากเหล็กหล่อชั้นดี มีหลายขนาดประกอบด้วย เขาทั่ง หน้าทั่ง ตัวทั่ง และขาทั่ง ขาทั่งมักจะยืดแผ่ออกมาจากตัวทั่ง นิยมฝังไว้ที่ผิวของไม้เนื้อแข็งเพื่อไม่ให้ขยับเวลาเคาะ ตี หรือทุบงาน หน้าทั่งใช้สำหรับงานที่ต้องการเคาะหรือทุบให้งานเรียบ และเขาทั่งใช้สำหรับเคาะขึ้นรูปงานให้โค้งงอ

2.ค้อน เป็นเครื่องมือที่จำเป็นมากสำหรับช่างโลหะ ค้อนสำหรับงานโลหะจะทำด้วยเหล็กกล้าชั้นดี ผ่านการชุบแข็งที่ผิวหน้า ไม่สึกหรอง่าย ด้ามค้อนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ค้อนมีขนาด รูปร่าง และน้ำหนักแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดและชนิดของงาน ค้อนบางชนิดน้ำหนักมากอาจต้องใช้สองมือจับตี เช่น ค้อนตีเหล็กขึ้นรูป ค้อนที่ใช้ในงานเชื่อมโลหะมีน้ำหนักมากจึงควรใส่ลิ่มให้แน่น และก่อนใช้ควรแช่น้ำเพื่อให้เนื้อไม้เบียดแน่นกับหัวค้อนทำให้ฝืดหลุดยาก การใช้ค้อนที่ด้ามหลวมหัวค้อนอาจหลุดกระเด็นเกิดอันตรายต่อเพื่อนร่วมงานได้

3.เลื่อยตัดเหล็ก ( hacksaw ) ประกอบด้วย โครงเลื่อย ด้ามจับ และที่ล๊อกใบเลื่อย ใบเลื่อยตัดเหล็กทำจากทังสเตนผสมกับโมลิบดีนัม ใช้เลื่อยตัดงานแบน กลม ท่อกลม และท่อเหลี่ยม การเลือกใบเลื่อยต้องใช้ขนาดฟันเลื่อยให้ถูกต้องกับงาน และไม่ควรบิดใบเลื่อยในขณะเลื่อยงานเพราะจะทำให้เลื่อยหักได้
-ใบเลื่อย 14 ฟัน/นิ้ว ใช้ตัดงานโลหะอ่อน เช่น อะลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง
-ใบเลื่อย 18 ฟัน/นิ้ว เป็นขนาดที่ใช้กันมากที่สุดใช้เลื่อยงานทั่วไป เช่น เหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณต่างๆ
-ใบเลื่อย 24 ฟัน/นิ้ว เหมาะที่จะใช้เลื่อยตัดท่อกลวงต่างๆ
-ใบเลื่อย 32 ฟัน/นิ้ว ใช้ตัดงานโลหะแผ่น ที่มีความหนาน้อยกว่า1/16 นิ้ว
4. ตะไบ ( file ) ทำจากเหล็กกล้าผ่านการอบชุบแข็ง ตะไบมีรูปร่างและขนาดมากมายหลายชนิด เช่น ตะไบกลม ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบสี่เหลี่ยม ตะไบคมมีด ตะไบหางหนู และตะไบท้องปลิง เป็นต้น ตะไบจะมีฟันคมทแยงตลอดทั้งตัว คมตะไบจะมีทั้งคมตัดเดี่ยวและคมตัดคู่ใช้สำหรับถากหรือขูดผิวโลหะออกมาเป็นเศษผงเล็กๆ หรือใช้ลบขอบ มุม และคมของแผ่นโลหะ
5.ตลับเมตร ( tape rule) ทำจากเหล็กแถบสปริงชุบสี สามารถดึงและม้วนกลับเข้าตลับได้ด้วยสปริงภายในตลับที่ปลายจะมีขอไว้เกี่ยวกับงาน ขนาดความยาวของตลับเมตรมีตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป สามารถวัดได้ทั้งหน่วยนิ้วและหน่วยเซนติเมตร

6.ฟุตเหล็ก ( stainless rule ) ทำจากเหล็กสเตนเลส มีความยาว 1 ฟุต 2 ฟุต และ3 ฟุต สามารถวัดความยาวได้ทั้งหน่วยนิ้วและหน่วยเซนติเมตร
7.ฉากเหล็ก ( flaming square ) ใช้สำหรับวัดมุม 90 องศา และ 45 องศา ใช้มากกับงานประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ เช่น ตู้ โต๊ะ เป็นต้น

8. เหล็กขีด ( scriber ) ทำจากเหล็กกล้าชุบแข็งที่คมใช้สำหรับขีดเส้นบนผิวโลหะเพื่อทำเครื่องหมายหรือตีเส้น เหล็กขีดมักใช้ร่วมกับฟุตเหล็กหรือฉากเหล็ก ควรลับคมเหล็กขีดกับหินลับมีดและห้ามนำไปงัดสิ่งของเพราะคมที่ชุบแข็งไว้จะหัก

9.เหล็กนำศูนย์ ( center punch ) ทำจากเหล็กเครื่องมือ คมที่ปลายชุบแข็ง มีมุมรวมที่ปลายคม 90 องศา ใช้ตอกลงบนผิวชิ้นงานก่อนใช้สว่านเจาะงาน เพื่อป้องกันดอกสว่านไถลจากจุดที่ต้องการ
10.สกัด ( cold chisel ) ทำจากเหล็กเครื่องมือชุบคมแข็งที่ปลาย ทำหน้าที่ถาก เซาะผิวหน้างานโลหะ สกัดมีปลายหลายแบบต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เช่น
-สกัดปลายแบน ใช้สำหรับตัดถากพื้นผิวโลหะและตกแต่งชิ้นงานหรือรอยเชื่อม
-สกัดปลายมล ใช้สำหรับสกัดแผ่นโลหะ
-สกัดปลายปากจิ้งจก ใช้สำหรับเซาะร่อง
-สกัดปลายเซาะ ใช้สำหรับเซาะร่องบนผิวงานให้โค้ง
-สกัดปลายบาน ใช้สำหรับตัดแผ่นโลหะและขึ้นรูปโลหะ
-สกัดปลายตัด ใช้สำหรับเจาะโลหะ หรือช่วยทะลวงแผ่นโลหะให้เป็นรู


11.คีมล็อก ( vise Grip ) เป็นคีมที่มีสปริงตั้งระยะปากจับล็อกได้ จับงานได้ทั้งแบน กลม เหลี่ยม ใช้สำหรับประกอบงานเชื่อมและช่วยจับงานให้แนบสนิทโดยไม่ต้องใช้มือจับ

12. ปากกาตัวซี ( c-clamp) ทำจากเหล็กหล่อหรือเหล็กเหนียวตีขึ้นรูป โครงปากโค้งเป็นรูปตัว c ยึดจับงานโดยใช้เกลียวอัด ใช้จับงานให้ยึดติดกันก่อนการเชื่อม เหมาะสำหรับงานโครงสร้างและงานสนามทั่วไป
13.ปากกาจับงาน ( vise)ใช้จับยึดงานเพื่อเจาะ ตัด ดัด พับ ตะไบ หรือบิดงาน โดยมีปาก 2 ปาก เป็นก้ามคีบจับ ปากด้านหนึ่งจะตรึงอยู่กับที่ ส่วนอีกปากหนึ่งเคลื่อนที่ได้โดยใช้แท่งเกลียวหมุนดึงปากเข้าและออก ปากกาจะติดตั้งที่โต๊ะงานเรียกว่า โต๊ะปากกา ปากกาจับงานมี 2 แบบ คือ ปากกาปากขนานใช้งานทั่วไป และปากกาปากคีมมีก้ามปากและเกลียวแข็งแรงใช้กับงานตีอัดแรงๆ

14.กรรไกรคานโยก ( Lever Shear) บางครั้งก็เรียกว่ากรรไกรโยกตามลักษณะการใช้งาน มีใบตัดซึ่งเป็นเหล็กแข็ง 2 ใบ คือใบล่างและใบบน ใบตัดล่างจะยึดติดกับตัวโครงกรรไกรส่วนล่าง ส่วนใบตัดบนจะยึดติดกับโครงส่วนบนซึ่งติดกับแขนคันโยก เคลื่อนที่ขึ้นลง ใช้ตัดเหล็กเส้น แบน กลม เหลี่ยม และเหล็กฉาก
15.สว่านไฟฟ้า ใช้เจาะงานเหมือนสว่านแท่นแต่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้กับงานเจาะทั่วไป มีมอเตอร์ไฟฟ้าขับเฟืองภายในและทดรอบช้าผ่านมาถึงหัวจับดอกสว่านหมุนเจาะงาน ตัวโครงจะทำด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน


16.เครื่องสว่านแท่น ใช้สำหรับเจาะงานรูกลม เครื่องจะติดตั้งอยู่กับที่โดยนำชิ้นงานเข้ามาเจาะวางบนแท่นเจาะ ใช้มอเตอร์เป็นกำลังขับพูเลย์เถาด้วยสายพาน ซึ่งมีการทดรอบให้ช้าลงเพื่อที่จะได้มีกำลังและส่งต่อไปยังหัวจับดอกสว่านหมุนเจาะงาน ถ้าเจาะรูโตก็ต้องเปลี่ยนรอให้ช้าลงมากๆเพื่อจะได้มีกำลังเจาะ ดอกสว่านมีหลายขนาดมีทั้งหน่วยเป็นนิ้วและมิลลิเมตร


17.เครื่องหินเจียระไนตั้งพื้น มีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวฉุดขับแกนเพลาซ้ายและขวา ปลายเพลาทั้งสองติดล้อหินเจียระไนแบบหยาบและแบบละเอียด ใช้เจียผิวหน้าของงานให้เรียบและใช้ลับคมเครื่องมือ หน้าล้อหินจะมีแท่นพักสำหรับวางงานเจียและมีพลาสติกใสเป็นการ์ดบังสะเก็ดโลหะไม่ให้กระเด็นเข้าตาผู้ปฏิบัติงาน
18.เครื่องหินเจียไฟฟ้า มีขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายสะดวกใช้เจียลบรอยต่างๆของงานที่ใหญ่และไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น งานก่อสร้างโครงเหล็ก ใบหินเจียเป็นแผ่นกลมๆ มีรูตรงกลางไว้ใส่กับเครื่อง ถอดเปลี่ยนใบได้ง่าย สะดวก และสามารถใส่ใบกระดาษทรายหมุนขัดงานต่างๆได้ด้วย เวลาใช้ต้องใส่แว่นตานิรภัยใส ทุกครั้งเพ่อป้องกันเศษจากการเจียงาน




ข้อควรจำ
1. อย่ามองการเชื่อมด้วยตาเปล่า
2. ต้องสวมแว่นเซฟตี้ทุกครั้งที่ทำการเคาะขี้ฟลักซ์
3. ตรวจสอบเลนส์หน้ากากเชื่อมเสมอ ถ้าชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที
4. ต้องใส่กระจกใสป้องกันลูกไฟเล็กๆกระเด็นไปเกาะเลนส์หน้ากากเชื่อมทุกครั้ง
5. ใช้หัวจับธูปเชื่อมที่มีฉนวนป้องกันการลัดวงจร ถ้าหัวจับธูปเชื่อมชำรุดอย่าวางหัวจับธูปเชื่อมไว้บนโต๊ะฝึกงาน หรือบนแผ่นงานเชื่อม
6. ต้องสวมถุงมือหนังและเสื้อหนังทุกครั้งที่ทำการเชื่อม
7. ให้ทำการเชื่อมนที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี
8. ถ้าจำเป็นต้องเชื่อมนอกห้องเชื่อม จะต้องมีฉากกำบังรอบๆและต้องไม่มีผู้อื่นอยู่ใกล้
9. อย่าให้สายเชื่อมถูกกับโลหะที่กำลังร้อน น้ำ น้ำมันหรือจารบี จงแขวนสายเชื่อมไว้ในที่สำหรับแขวน
10. ต้องแน่ใจว่าได้ต่อสายดิน ( Ground ) แน่นดีแล้ว
11. เก็บสายเชื่อมไว้ในที่ที่เก็บของมันเพื่อป้องกันอันตราย ถ้าเป็นไปได้ให้เก็บไว้ในที่ซึ่งไม่มีคนเดินผ่าน
12. ในการเชื่อมถังเปล่า กล่องโลหะที่มีฝาปิดมิดชิด หรือท่อ ต้องแน่ใจว่าสิ่งเหล่านี้สะอาดปราศจากเชื้อเพลิงดีแล้ว
13. อย่าทำการเชื่อมใกล้สิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง
14. ต้องปิดเครื่องเชื่อมทุกครั้งหลังจากเลิกปฏิบัติงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น