วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อุปกรณ์เครื่องใข้ไฟฟ้า

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้อย่างไรให้ประหยัด
สิ่งที่จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงานให้ได้ผลอย่างจริงจังนั้น คือ ความตั้งใจ และจริงจังต่อตนเอง ภายใต้ "จิตสำนึก" ที่ต้องคิดเสมอว่า "จะประหยัดพลังงานและเงินค่าไฟฟ้า" โดยอาศัยหลักการเบื้องต้นของการประหยัดไฟฟ้า คือ เลือกใช้เครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ความจำเป็นและจำนวนสมาชิกเพื่อจะได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง พร้อมทั้งตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอและดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดกินไฟมากน้อยเท่าใดเพื่อที่จะได้ใช้ให้ถูกต้อง

ก่อนซื้อต้องคิดถึงอะไร
สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ ราคา ซึ่งถือเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญและควรคิดถึงเสมอว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีราคาถูกนั้นไม่ใช่เป็นข้อสรุปในการตัดสินใจซื้อ เพราะของถูกอาจกินไฟมาก และมีอายุการใช้งานสั้นก็ได้ ควรดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเกินไฟมากน้อยเพียงใด โดยดูจากแผ่นป้ายที่บอกได้ที่ตัวเครื่องว่ากินไฟกี่วัตต์ จำนวนวัตต์มากจะเสียงค่าไฟฟ้ามากการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าคุณภาพดี สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ตลอดอายุการใช้งาน และควรเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ในคุณภาพ ผ่านการรับรองคุณภาพของสินค้าจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้วย
นอกจากนี้การติดตั้งและบำรุงรักษา ก็ต้องมีการศึกษาชนิดของเครื่องไฟฟ้านั้น ๆ ควรมีระบบการติดตั้งไม่ยุ่งยาก อะไหล่หาง่าย เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกไม่ต้องเสียค่าซ่อมบ่อย อายุการใช้งานยาวขึ้น แล้วยังทำให้เกิดการประหยัดไฟฟ้าอีกด้วย

ประสิทธิภาพสำคัญอย่างไร
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลย คือ คุณภาพของสินค้าและราคาค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายตลอดเวลาการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงสินค้าคุณภาพดีที่มักใช้อุปกรณ์และส่วนประกอบที่มีคุณภาพ ประกอบกับการรู้วิธีการใช้ที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ใช้สามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่ากระแสไฟฟ้าลงได้ แม้ว่าราคาซื้อจะสูงกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป แต่ถ้าคิดถึงการใช้ตลอดอายุการใช้งานแล้วจะคุ้มได้ในเวลาไม่นานนัก
โดยเฉลี่ยแล้วครอบครัวคนไทยในเมืองจะต้องจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าประมาณปีละ 7,500 บาท และ 2,500 บาท สำหรับครอบครัวในชนบท เพราะไฟฟ้าที่พวกเราใช้อยู่ทุกวันนี้จะสอดแทรกกับทุกกิจกรรมตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะหลับหรือตื่น ทั้งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อน
ปัจจุบันประชากรของไทยมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น จะสังเกตได้จากผู้คนส่วนมากสามารถหาซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้มากขึ้นทุกวัน นั่นหมายถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นด้วย
แม้ว่าการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ต้องคิดเป็นสิ่งแรกแล้ว การใช้หรือวิธีการใช้งานก็จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องด้วย จึงจะเป็นการประหยัดอย่างแท้จริง เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดมีลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไป


เลือกเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูงหนทางประหยัดระยะยาว
การประเมินประสิทธิภาพของพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอาอาศก็คือการเปรียบเทียบค่า EER (Energy Efficiency Ratio) สำหรับเครื่องปรับอากาศรุ่นต่าง ๆ ควรเลือกเครื่องที่มีค่า EER เท่ากับ 10 หรือมากกว่า เพราะจะมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยผู้ใช้สามารถคำนวณค่า EER ของเครื่องปรับอากาศได้ด้วยตัวเอง
ค่า EER ยิ่งสูงยิ่งประหยัด ตัวเลข 7, 8 หรือ 9 เป็นตัวชี้บอกระดับประสิทธิภาพมีหน่วยเป็น บีทียูต่อวัตต์ โดยปกติแล้วเครื่องปรับอากาศที่กินไฟ 1 วัตต์ สามารถเอาความร้อนออกได้ 12 บีทียู ซึ่ง บีทียู สูงถือได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงาน
ในคู่มือขายเครื่องปรับอากาศหรือฉลากของเครื่อง จะมีขนาดของเครื่องทำความเย็นระบุเป้น บีทียู/ชั่วโมง หรือตันกำลังไฟฟ้าที่บอกจำนวนวัตต์ที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ต้องใช้ และถ้าเป็นระบบแยกส่วนต้องรวมกำลังไฟฟ้าของเครื่องภายในห้องและคอมเพรสเซอร์ภายนอกห้องเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้จำนวนวัตต์ทั้งหมดที่ต้องใช้ในการคำนวณตามสูตรด้านล่างนี้
EER = ขนาดทำความเย็น (BTU/hr)
กำลังไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด (วัตต์)
การใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ประหยัดพลังงานได้ เช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบอิเล็กทรอนิค เป็นสิ่งที่ทำให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศบางรุ่นใส่เครื่องควบคุมดังกล่าวเข้าไปด้วย ทำให้สามารถตั้งระดับอุณหภูมิและระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนอุณหภูมิได้ตามต้องการ เครื่องควบคุมนี้จะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนเครื่องปรับอากาศที่มีสวิตช์เลือกใช้พัดลมเพียงอย่างเดียวเหมาะสำหรับใช้ในเวลากลางคืน เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศลงได้ และเครื่องปรับอากาศที่มีปุ่มไฟเตือนให้ทำความสะอาดแผ่นกรองฝุ่นตามระยะเวลา ปุ่มควบคุมการทำงานของพัดลมซึ่งจะถ่วงเวลาการหยุดทำงานออกไประยะเวลาสั้น ๆ หลังจากคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์มากที่ช่วยให้ประหยัดไฟ

เครื่องทำน้ำอุ่น
เครื่องทำน้ำอุ่นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เพราะผู้ใช้ยอมรับว่าน้ำอุ่นสามารถขจัดไขมันหรือสิ่งสกปรกที่ติดตามร่างกายได้ดีกว่าน้ำเย็น ทำให้รู้สึกสบายตัวกว่าอาบน้ำเย็น
วิธีใช้เครื่องทำน้ำอุ่นสำหรับอาบให้ประหยัดควรเลือกขนาดของเครื่องให้เหมาะสมตามความจำเป็นภายในครัวเรือน และไม่ควรเปิดเครื่องตลอดเวลาขณะอาบน้ำ เปิดเครื่องให้น้ำไหลพอเหมาะกับการใช้งาน ปิดเครื่องทันทีเมื่อเลิกใช้ และปิดวาล์วน้ำและสวิตช์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน
ปกติแล้วเครื่องทำน้ำอุ่นจะกินไฟประมาณ 900 - 4800 วัตต์ แล้วแต่ขนาด ข้อสำคัญเกี่ยวกับเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำก็คือ ใช้แล้วควรปิดเครื่อง อย่าเปิดสวิตช์ทิ้งไว้ นอกจากนี้ต้องระวังอย่าให้น้ำรั่วจากฝักบัว เพราะจะทำให้เครื่องต้องทำงานมากกว่าปกติ
เครื่องสูบน้ำ (สำหรับบ้านอยู่อาศัย) เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากชนิดหนึ่งมีชนิดและขนาดแตกต่างกันออกไป โดยปกติเครื่องสูบน้ำที่ใช้ในบ้านส่วนมากจะมีขนาด 355 - 433 วัตต์ เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูญเปล่าไปโดยไม่จำเป็นการใช้เครื่องสูบน้ำให้ประหยัดไฟฟ้าทำได้ดังนี้ ควรใช้ขนาดให้เหมาะสม โดยให้มีขนาดใหญ่พอควร เพราะถ้าถังความดันเล็กเกินไป สวิตช์อัตโนมัติต้องทำงานถี่มากขึ้นเป็นปลให้มอเตอร์ต้องทำงานมากขึ้น และควรสร้างบ่อพักน้ำไว้ในระดับพื้นดินปล่อยน้ำประปาลงไปเพื่อให้ถูกต้องตามกฏหมายและจะช่วยประหยัดพลังงานเพราะเครื่องสูบน้ำจะทำงานเมื่อใช้น้ำเท่านั้น
สำหรับระบบเครื่องสูบน้ำ ที่ใช้ถังเก็บสูงเหนือพื้นดิน และปล่อยน้ำลงมาใช้ ควรสูบน้ำขึ้นถังเก็บน้ำให้เต็ม และเมื่อใช้น้ำจนเกือบหมดถังจึงสูบน้ำให้เต็ม เพื่อไม่ต้องเปิด - ปิด เครื่องบ่อยครั้งโดยไม่จำเป็นและควรใช้สวิตช์อัตโนมัติช่วยการทำงานเพราะการสูบน้ำจะกินไฟมากเมื่อมอเตอร์เริ่มทำงาน
การประหยัดเพื่อลดการสูญเปล่าของน้ำได้มากเท่าใด จะช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นเช่นกัน การลดการสูญเสียของน้ำ ซึ่งเกิดจากการรั่วหรือชำรุดของท่อประปาและถังพักน้ำ ส้วมชักโครกเพราะว่าน้ำประปาที่รั่วไหลออกมาก็ต้องใช้เครื่องสูบน้ำเช่นเดียวกัน
การบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำให้ดี จะช่วยให้ลดการสึกหรอของเครื่องสูบน้ำได้ เพราะเครื่องสูบน้ำเมื่อใช้ไปนาน ๆ แผ่นปะเก็นซีลและลูกยางจะสึก ทำให้เครื่องสูบน้ำหลวม สูบน้ำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เสียเวลาและเปลืองไฟโดยใช่เหตุ สิ่งที่ควรแก้ไขคือ ตรวจสภาพสายพานที่เชื่อมโยงระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้ากับตัวเครื่องสูบน้ำ ไม่ควรหย่อนหรือตึงเกินไป และควรทำความสะอาดตะกอนในถังความดันเป็นครั้งคราวเพราะถ้ามีตะกอนมากอาจเกิดการอุดตันในเครื่องทำให้ทำงานหนัก หากเป็นไปได้ควรติดตั้งเครื่องกรองน้ำด้วย
ข้อสังเกต
เครื่องสูบน้ำ 1/3 แรงม้า ใช้ 5 ชั่วโมงต่อวัน ค่าไฟฟ้าต่อเดือนเป็นเงินประมาณ 88 บาท
เครื่องสูบน้ำ 1/2 แรงม้า ใช้ 5 ชั่วโมงต่อวัน ค่าไฟฟ้าต่อเดือนเป็นเงินประมาณ 132 บาท

โทรทัศน์
ปัจจุบันเครื่องรับโทรทัศน์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันแทบทุกครัวเรือน ให้ความบันเทิง ให้ความรู้ ให้ข่าวสารสาระประโยชน์มากมาย เครื่องรับโทรทัศน์กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกบ้านเรือนไปแล้ว ครอบครัวในฐานะปานกลางอาจมีโทรทัศน์มากกว่า 1 เครื่อง เพราะโทรทัศน์เป็นสื่ออิเล็คทรอนิคส์ที่เข้าถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์
เครื่องรับโทรทัศน์ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นโทรทัศน์สีขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ขนาด 12 - 30 นิ้ว มีทั้งระบบทั่วไป และระบบรีดมทคอนโทรล เมื่อพิจารณาถึงพลังงานที่ใช้แล้ว โทรทัศน์สีที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะกินไฟมากกว่าโทรทัศน์สีระบบทั่วไปที่มีขนาดเดียวกัน เพราะมีวงจรเพิ่มเติมและกินไฟตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่ใช้เครื่องรีโมทคอนโทรลก็ตาม
ดังนั้นวิธีใช้เครื่องรับโทรทัศน์ให้ประหยัดพลังงานสามารถทำได้โดย อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้เพราะเครื่องรับโทรทัศน์ประเภท "เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ" เป็นเครื่องรับโทรทัศน์ที่ไม่ต้องรอ สามารถรับภาพได้ทันทีเมื่อกดปุ่มเปิด เครื่องรับโทรทัศน์ประเภทนี้ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้จะกินไฟตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น ควรถอดปลั๊กทุกเครื่องเมื่อออกนอกบ้าน การทำเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นการสิ้นเปลืองไฟแล้วยังไม่เป็นอันตรายต่อเครื่องด้วย ควรปิดเครื่องรับโทรทัศน์ทุกครั้งเมื่อไม่ต้องการดู และเพื่อความปลอดภัยควรดึงปลั๊กออกทุกครั้งหลังการปิดสวิทช์

กาต้มน้ำ กระติกต้มน้ำร้อนอัตโนมัติ
กาต้มน้ำหรือกระติกต้มน้ำร้อนแบบอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกให้กับทุกครัวเรือน การเลือกใช้กาต้มน้ำหรือกระติกต้มน้ำร้อนอัตโนมัติ ควรเลือขนาดที่พอเหมาะกับครอบครัว และถ้าไม่เป็นเครื่องอัตโนมัติต้องคอยดูเมื่อน้ำเดือดแล้ว ต้องปิดสวิตช์อย่าปล่อยให้เดือดไปเรื่อย ๆ ควรต้มน้ำในปริมาณที่เพียงพอแก่การใช้งานเท่านั้น และควรถอดปลั๊กทันทีเมื่อเลิกใช้งาน อย่าเสียบไฟไว้โดยไม่มีคนอยู่ปรือลืมถอด ซึ่งอาจทำให้ไม่ประหยัดไฟฟ้าแล้วยังเป็นอันตรายถึงเกิดไฟไหม้ได้
กาต้มน้ำไฟฟ้าอัตโนมัติ การต้มน้ำชนิดนี้เมื่อใช้งานจะได้ความร้อนถึงประมาณ 80 - 100 องศาเซลเซียส สวิตช์ควบคุมอันโนมัติจะตัดไฟที่ไส้ทำความร้อนออก แต่จะมีไส้ความร้อนชุดเล็กสำหรับอุ่นทำหน้าที่รักษาอุณหภูมของน้ำให้อุ่นอยู่เสมอ ถ้าต้องการประหยัดก็ควรดึงปลั๊กออกเมื่อไม่ต้องการใช้น้ำอีกต่อไป
ข้อสังเกต
กาต้มน้ำไฟฟ้า 500 วัตต์ เปิด 15 นาทีต่อวัน ค่าไฟฟ้าต่อเดือน เป็นเงินประมาณ 6 บาท
กาต้มน้ำไฟฟ้า 1,300 วัตต์ เปิด 15 นาทีต่อวัน ค่าไฟฟ้าต่อเดือน เป็นเงินประมาณ 16 บาท

การปรุงอาหารด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า
ความสะดวกสบายที่ได้รับจากการปรุงอาหารด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นที่นิยมสำหรับคนรุ่นใหม่ในเมือง เพราะสะดวก ปราศจากควัน รวดเร็วไม่สิ้นเปลืองเวลา และรูปแบบการปรุงอาหารด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าเหมาะสำหรับที่อยู่อาศัยมีพื้นที่จำกัด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับปรุงอาหาร ได้แก่ หม้อหุงข้าว เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้า กาต้มน้ำร้อน กะทะไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องปั่นผลไม้ เครื่องผสมอาหาร เป็นต้น
ซึ่งมีข้อสังเกตว่า การนำไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นความร้อนนั้น จะสิ้นเปลืองไฟฟ้ามาก ประมาณได้ว่ากินไฟ้เกินกว่า 1,000 วัตต์ ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของภาชนะที่จะรับความร้อนได้เร็วหรือช้าเพียงใด
วิธีประหยัดไฟฟ้าแบบง่ายๆ ทำได้โดย
ทำอาหารต้องมีแผน การประกอบอาหารแต่ละครั้งควรเตรียมเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนแล้วจึงเปิดสวิตช์เตาไฟฟ้า ตั้งกะทะประกอบอาหารแต่ละอย่างติดต่อกันไปรวดเดียวจนเสร็จ เมื่อใช้เตาไฟฟ้าควรใช้ภาชนะก้นแบน เช่น กะทะ หม้อ ควรเป็นชนิดก้นแบนพอดีกับเตา ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป เพราะจะได้รับความร้อนจากเตาอย่างเต็มที่ อาหารจะสุกเร็ว
ใส่น้ำพอสมควร การหุงต้มอาหารเช่น ต้มผัก อย่าใส่น้ำมากนัก นอกจากจะไม่น่ารับประทานแล้วยังเปลืองไฟ อาหารสุกช้า และยังเสียคุณค่าทางอาหารอีกด้วย การปิดฝาหม้อจะทำให้อาหารร้อนเร็วขึ้น
การประกอบอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรปิดสวิตช์ก่อนอาการจะสุกเล็กน้อย เพราะความร้อนที่สะสมอยู่ที่เตายังคงมีพอที่จะทำให้อาหารสุกได้ การทำเช่นนี้จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้
ในกรณีที่ใช้เตาอบไฟฟ้า หรือ เตาอบไมโครเวฟ ซึ่งเป็นเครื่องไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในลักษณะของการอบอาหาร เช่น อบไก่ เนื้อ เค็ก ขนมต่างๆ
เตาอบไฟฟ้าจะกินไฟมากหรือน้อยแล้วแต่ขนาดเล็กหรือใหญ่ส่วนมากจะใช้ไฟตั้งแต่ 650 - 1,500 วัตต์ องค์ประกอบที่ทำให้สิ่งที่อบร้อนเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับชนิดรูปร่างและปริมาณอาหารที่นำมาอบจึงควรปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานจะช่วยให้ประหยัดไฟได้
ข้อสังเกต
เตาอบไฟฟ้า 400 วัตต์ ใช้ 1 ชั่วโมงต่อวัน ค่าไฟฟ้าต่อเดือนเป็นเงินประมาณ 20 บาท
เตาอบไฟฟ้า 1,000 วัตต์ ใช้ 1 ชั่วโมงต่อวัน ค่าไฟฟ้าต่อเดือนเป็นเงินประมาณ 50 บาท

เตารีดไฟฟ้า
เตารีดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นอีกชนิดหนึ่ง เพราะให้ความสะดวก สามารถรีดผ้าให้เรียบน่าสวมใส่ มีราคาไม่แพง แต่ก็เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟเปลืองมากชนิดหนึ่ง คือ ใช้ไฟถึง 750 - 1,200 วัตต์ เตารีดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เตารีดไฟฟ้าอัตโนมัติ และเตารีดไฟฟ้าอัตโนมันแบบไอน้อ ซึ่งเป็นเตารีดที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสะดวกในการที่ไม่ต้องพรมน้ำก่อนรีดผ้า
ในปัจจุบันนี้ นิยมใช้เตารีดไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ เตารีดไฟฟ้าจะมีปุ่มสำหรับปรับอุณหภูมิความร้อนให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ โดยผู้ใช้สามารถจะปรับความร้อนให้มากหรือน้อยตามต้องการ เมื่ออุณหภูมิความร้อนถึงเกณฑ์กำหนดอุปกรณ์อัตโนมัติก็จะตัดทันที
การใช้เตารีดให้ประหยัดไฟฟ้า ทำได้โดย ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้าที่จะรีด การรีดผ้าแต่ละครั้งควรรวบรวมผ้าที่จะรีดไว้ให้มีปริมาณมากพอสมควร ไม่พรมน้ำจนมากเกินไปทำให้เสียความร้อนในการรีดมากขึ้น ควรดึงปล๊กออกเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าของเตารีดออกก่อนเสร็จสิ้นการรีด ความร้อนที่เหลืออยู่ในเตารีดยังสามารถรีดต่อไปได้อีกประมาณ 2 - 3 นาที
ข้อสังเกต

เตารีดไฟฟ้า 750 วัตต์ ใช้ 1 ชั่วโมงต่อวัน ต้องเสียค่าไฟฟ้าต่อเดือนเป็นเงิน 37 บาท
เตารีดไฟฟ้า 1,000 วัตต์ ใช้ 1 ชั่วโมงต่อวัน ค่าไฟฟ้าต่อเดือนเป็นเงิน 50 บาท

การป้องกันความร้อนที่จะผ่านเข้ามาภายในบ้าน ทำได้โดย
การใช้ฉนวนกันความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาภายในอาคารโดยตรง
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนเพดานช่วยป้องกันการนำความร้อนเข้าสู่อาการได้ถึง 30%
ห้องที่จะทำการติดตั้งเครื่องปรับอากาศควรได้รับการดัดแปลงที่เตรียมไว้เป็นกรณีพิเศษ
ใช้ม่าน มู่ลี่ หรือกันสาด หรือวัสดุอื่น ๆ ที่จะช่วยป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์
การปลูกต้นไม้รอบ ๆ บ้านก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้
เมื่อต้องการสร้างบ้านใหม่ หรือซ่อมแซมบางส่วน ควรศึกษาเพื่หาทางออกในกากรแก้ปัญหาเรื่องความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร เช่น หลังคาบ้าน ควรใช้สีอ่อน เพื่ป้องกันการสะสมความร้อนในบริเวณเพดานใต้หลังคา การใช้หน้าต่างที่เป็นกระจก ควรใช้กระจกหน้าต่างแบบ (Low E - Glazings) ซึ่งยอมให้แสงผ่านเข้าแต่จะกันรังสีความร้อนไม่ให้เข้าไปได้
ซ่อมแซมส่วนที่มีรอยชำรุด รอยแตกแยกที่ฝาผนังหรือประตูควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันความร้อนที่จะเข้ามา และป้องกันความเย็นไม่ให้ไหลสู่ภายนอก
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น โคมไฟ ตู้เย็น ตู้อบ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะทำให้มีความร้อนเกิดขึ้น ควรใช้ชนิดที่มีประสิทธิภาพเพื่อที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายนอกจากนี้ยังช่วยลดความจำเป็นในการใช้เครื่องปรับอากาศด้วย
การถ่ายเทอากาศโดยใช้พัดลมหรือลมจากธรรมชาติสามารถทำให้ห้องเย็นขึ้น
การใช้พัดลมเพดาน หรือตั้งโต๊ะ ประหยัดพลังงานมากกว่าใช้เครื่องปรับอากาศประมาณ 10 - 20 เท่า

เครื่องปรับอากาศ
ภาพรวมของการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ร้อยละ 40 อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 35 อยู่ในภาคธุรกิจ และอีกร้อยละ 25 อยู่ในภาพที่อยู่อาศัย ตัวเลจค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าที่เป็นจริงในทุกวันนี้ กว่าร้อยละ 50 ของพลังงานที่สูญเสียไปนั้น มาจากเครื่องปรับอากาศ (Air Conditioner)
คงไม่ปฏิเสธความสะดวกสบายที่ได้รับจากเครื่องปรับอากาศเพราะปัจจุบันอาคารเกือบทุกแห่งออกแบบให้ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก รวมทั้งภาคที่อยู่อาศัย ในสังคมทุกวันนี้จึงหนีไม่พ้นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่กินพลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่งหมด
ความต้องการใช้เครื่องปรับปากาศภายในประเทศ เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 400,000 เครื่อง ถ้าเฉลี่ยความต้องการไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศจะใช้ประมาณ 1,500 วัตต์ต่อเครื่อง หากทุกเครื่องเปิดใช้พร้อมกันในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของระบบ เพื่อสนองความต้องการของเครื่องปรับปาดาศอย่างเดียว กฟผ. จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเฉพาะกรณีนี้ถึงปีละ 600 เมกะวัตต์ หรือเทียบได้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะขนาด 300 เมกะวัตต์ 2 โรง
เครื่องปรับอากาศเป็นอุปกาณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุดในบ้านนอกจากจะหาซื้อมาในราคาแพงแล้วการใช้เครื่องปรับอากาศยังเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับค่าไฟขึ้นอีกมาก้วยการใช้เครื่องปรับอากาศที่มีคุณภาพไม่ดียังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงและมีขนาดที่เหมาะสมกับห้องด้วย
เลือกเครื่องปรับอากาศให้ดูขนาดของห้อง สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงเมื่อเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ คือ เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเมาะสมกับห้องที่จะติดตั้ง



ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ กับขนาดของเครื่องปรับอากาศ
พื้นที่ห้องตามความสูงปกติ

พื้นที่ห้องตามความสูงปกติ
(ตารางเมตร)
ขนาดเครื่องปรับอากาศ
(บีทียู/ชั่วโมง)
13-14
8,000
16-17
10,000
20
12,000
23-24
14,000
30
18,000
40
24,000

ใช้เครื่องปรับอากาศอย่างไร ให้ประหยัดไฟ การใช้เครื่องปรับอากาศอย่างถูกวิธี ปฏิบัติตามเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างประหยัดงาน โดยเริ่มจากการติดตั้งเพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรจะติดตั้งชุดระบายความร้อน (Condensing Unit) ไว้ในตำแหน่งที่เย็น มีร่มเงา ไม่ถูกกับแสงแดดโดยตรง และอยู่ในที่ที่ระบายอากาศได้ดี หมั่นบำรุงรักษาความสะอาดแผ่นกรองฝุ่นทุก ๆ เดือน หรือมากกว่าถ้าจำเป็น นอกจากนี้ควรมีการตรวจเช็คล้างทำความสะอาดปีละครั้ง โดยช่างที่ชำนาญ และตรวจเช็คสภาพครั้งใหญ่ 2 - 3 ปี ต่อครั้ง เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศด้วย
ในการใช้เครื่องปรับอากาศควรใช้เมื่อคิดว่ามีความจำเป็นต้องใช้ถ้าต้องออกจากห้องเป็นเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง ควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อน และต้องตรวจดูให้แน่ใจด้วยว่าหน้าต่างและประตูได้ปิดสนิทขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงานอยู่
การตั้งอุณหภูมิให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะทุกองศาของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นนั้น หมายถึง การประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ 3 - 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที 25 - 26 องศาเซลเซียส และใช้พัดลมช่วยในการถ่ายเทอากาศให้รู้สึกสบายขึ้น ลดความชื้นภายในห้องให้ต่ำที่สุด และไม่ควรปลูกต้นไม้หรือตากผ้าภายในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ
ลดการใช้เครื่องปรับอากาศให้มากที่สุด สามารถทำได้ การใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดเงินประหยัดพลังงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ทำได้โดยการใช้เครื่องปรับอากาศให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการลดการใช้เครื่องปรับอากาศก็สามารถทำได้โดยการป้องกันความร้อนให้เข้ามาภายในบ้านให้น้อยที่สุด และนำความร้อนจากภายในให้ออกสู่ภายนอกให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านไม่ร้อน ลดการใช้เครื่องปรับอากาศลงได้


ลักษณะตู้เย็นประหยัดพลังงานเป็นอย่างไร
ต้องเป็นตู้เย็นที่มีผนังหนาช่วยป้องกันควมร้อนจากภายนอกมิให้เข้าสู่ตู้เย็นได้ ทำให้อาหารที่แช่เย็นได้ง่ายและใช้ไฟฟ้าน้อยกว่ามาก
ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านข้าง จะใช้ไฟฟ้าได้มากกว่าหนึ่งในสามของรุ่นที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านบนของเครื่อง และตู้เย็นที่มี 2 ประตู จะกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เนื่องจากต้องใช้การตั้งอุณหภูมิที่ตัวเลขต่ำ ทำให้ไม่ค่อยเย็นหรือถ้าตั้งที่เลขสูงจะเย็นมากจึงควรตั้งอุณหภูมิความเย็นให้พอเหมาะ อุณหภูมิภายในตู้เย็นควรจะอยู่ระหว่าง 3 - 6 องศาเซลเซียส ส่วนในช่องแช่แข็งควรมีอุณหภูมิระหว่างลบ 15 - 18 องศาเซลเซียส ถ้าระดับอุณหภูมิอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ที่กำหนดนี้ต้องปรับที่ควบคุมอุณหภูมิใหม่ เพราะถ้าตั้งอุณหภูมิตู้เย็นไว้เย็นกว่าที่กำหนดไว้ 1 องศา การใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์
หมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน ที่อยู่ด้านหลังตู้เย็นเมื่อตู้เย็นใช้ไปนาน ๆ มักจะมีฝุ่นละอองมาเกาะติดตามแผงระบายความร้อนนี้มากเป็นเหตุให้การระบายความร้อนไม่ดีเครื่องคอมเพรสเซอร์จะทำงานมากขึ้นทำให้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้นด้วย
ตรวจสอบยางขอบประตู อย่างปล่อยให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนแผ่นยางใหม่ทันที ยางขอบประตูตู้เย็นที่ชำรุดและเสื่อมสภาพจะทำให้อากาศร้อนภายนอกเข้าไปภายในตู้เย็น ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก นอกจากนี้ความขึ้นในอากาศยังเข้าไปในตู้เย็นด้วย จะทำให้แผงเย็นหรือช่องทำน้ำแข็งเกาะเร็วขึ้นดังนั้นฝาตู้เย็นควรจะปิดให้สนิทอย่าให้มีรอยรั่ว ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยใช้กระดาษสอดระหว่างขอบยางกับขอบตัวตู้เย็นเลื่อนกระดาษไปโดยรอบประตู ถ้าส่วนใดเลื่อนได้สะดวกไม่ฝืดแสดงว่าส่วนนั้นปิดไม่สนิทจึงควรเปลี่ยนขอบยางตู้เย็นใหม่ได้แล้ว
อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ หรือใส่ของร้อนในตู้เย็นจะทำให้ความร้อนเข้าไปภายในตู้ ทำให้ภายในตู้สูญเสียความเย็นทำให้ตู้เย็นต้องเริ่มทำงานสะสมความเย็นใหม่ นอกจากนี้จะทำให้ภายในห้องร้อนขึ้น เนื่องจากคอมเพรสเซอร์จะทำงานมากขึ้น เพื่อระบายความร้อนออกทางแผงระบายความร้อนหลังตู้เย็น
ละลายน้ำเข็งอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการถอดปลั๊กตู้เย็นที่ใช้เป็นครั้งคราว จะช่วยประหยัดได้หลายร้อยบาทในแต่ละปี หรือถ้าตู้เย็นที่มีปุ่มละลายน้ำแข็งก็กดปุ่มนั้นได้ทันที เมื่อน้ำแข็งละลายหมดแล้วปุ่มกดนี้จะดีดตัวให้คอมเพรสเซอร์ทำงานต่อไป อย่าใช้ของแข็งหรือของมีคมงัดหรือแกะน้ำแข็งอาจทำให้แผงความเย็นชำรุดเสียหายได้
ตรวจสอบตู้เย็นสม่ำเสมอ เมื่อตู้เย็นทำงานไปได้ระยะหนึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องสังเกตและดูแลตู้เย็น อย่างปล่อยให้คอมเพรสเซอร์ทำงานไม่เต็มที่ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากน้ำยาน้อย ลิ้นรั่ว เมื่อเครื่องเดินตลอดเวลาแต่ไม่ค่อยมีความเย็น สามารถทดสอบได้โดยใช้มือแตะที่แผงร้อนว่าอุ่นหรือร้อนไม่ทั่วแผงร้อนแสดงว่า เครื่องทำงานไม่เต็มที่ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
นอกจากนี้อย่าให้ตู้เย็นมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน ในกรณีที่ตู้เย็นมีการต่อสายลงดินเพื่อป้องกันอันตรายแก่บุคคล ถ้ามีไฟฟ้ารั่วลงดินจะทำให้ตู้เย็นกินไฟฟ้ามากกว่าปกติ เพราะนอกจากไฟฟ้าที่เข้าคอมเพรสเซอร์ตามปกติแล้ว ยังจะมีไฟฟ้าส่วนที่รั่วลงดินเพิ่มขึ้นอีก เราสามารถทดสอบได้โดยการปิดสวิตซ์ไฟทุกชนิดที่ใช้ไฟฟ้าอยู่ ยกเว้น ตู้เย็น แล้วค่อย ๆ หมุนสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิกลับมาทางเลขต่ำจนคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานหรือสวิตซ์ปิด แล้วไปสังเกตที่มิเตอร์มาตรวัดไฟฟ้า ถ้าพบว่าจานมาตรวัดยังหมุนทำงานอยู่ แสดงว่าตู้เย็นมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน ในกรณีนี้จะเกิดเฉพาะผู้ที่ต่อสายจากตู้เย็นลงดินเท่านั้น การทดสอบด้วยวิธีนี้จะไม่ได้ผลหากตู้เย็นตู้นั้นไม่ได้ต่อสายลงดิน หรือถ้าการทดสอบทำไม่สะดวกนักควรให้ช่างมาตรวจสอบจะดีที่สุด

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้อย่างไรให้ประหยัด
สิ่งที่จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงานให้ได้ผลอย่างจริงจังนั้น คือ ความตั้งใจ และจริงจังต่อตนเอง ภายใต้ "จิตสำนึก" ที่ต้องคิดเสมอว่า "จะประหยัดพลังงานและเงินค่าไฟฟ้า" โดยอาศัยหลักการเบื้องต้นของการประหยัดไฟฟ้า คือ เลือกใช้เครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ความจำเป็นและจำนวนสมาชิก เพื่อจะได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง พร้อมทั้งตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอและดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดกินไฟมากน้อยเท่าใดเพื่อที่จะได้ใช้ให้ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น